บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 12 (ความเป็นศาสดา)

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 12 (ความเป็นศาสดา)

 
- ข้อสงสัยในความบริสุทธิ์ “อิศมัต” ของบรรดาศาสดา
5 ผู้ที่มีความบริสุทธิ์ “อิศมัต” หมายถึงการไม่ละเมิดชารีอัต(คำสั่งที่เป็นข้อบังคับ)ของอัลลอฮฺ(ซบ) หรือการทำบาปใหญ่และบาปเล็กซึ่งการพูดโกหกก็คือบาปหนึ่งและเป็นบาปใหญ่ การโกหกก็จะทำให้หลุดจากความเป็นผู้บริสุทธิ์ “อิศมัต” 
ซูเราะฮฺอัศศอฟฟาต โองการที่ 89
فَقَالَ إِصِّ سَقِيم‏
“เขา(อิบรอฮีม)กล่าว่าแท้จริงฉันไม่สบาย”
   ท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ)กล่าวกับพวกมุชรีกีนที่ได้มาเชิญชวนท่านออกไปทำชีริกนอกเมืองว่าฉันไม่สบายซึ่งในความจริงท่านสบายดีอยู่
  เมื่อชาวเมืองออกกันไปหมดท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ)ได้ใช้ขวานตัดหัวเจว็ดในเมืองทั้งหมดแล้วเอาขวานไปแขวนไว้ที่คอของเจว็ดตัวใหญ่ เมื่อชาวเมืองกลับมาก็ได้มาถามศาสดาอิรอฮีม(อ)ว่าท่านใช่ไหมที่ทำลายพระเจ้าของพวกเรา ท่านศาสดา(อ)ตอบว่าฉันไม่ได้ทำพวกเจ้าลองถามเจว็ดตัวใหญ่ดู ทั้งๆที่ท่านศาสดาอิบรอฮีม(อ)เป็นผู้ทำ การพูดลักษณะนี้ก็คือการโกหกและเป็นบาปใหญ่ซึ่งก็ขัดกับชารีอัตของอัลลอฮฺ(ซบ) และเท่ากับว่าขัดกับความบริสุทธิ์ของความเป็นศาสดาหรือไม่
ซูเราะฮฺอัลอัมบียาอฺ โองการที่ 63
قَالَ بَلْ فَعَلَهُ كَبِيرُهُمْ هَذَا فَسَْلُوهُمْ إِن كَانُواْ يَنطِقُون‏
“และศาสดาอิบรอฮีมได้กล่าว่า หามิได้ เจว็ดตัวใหญ่นี่ต่างหากที่ตัดหัวเจว็ดตัวอื่น พวกเจ้าจงถามมันดูถ้ามันพูดได้”
    และอีกกรณีหนึ่งตัวอย่างจากเรื่องราวของท่านศาสดายูซุฟ(อ) ในซูเราะฮฺ โองการที่ 70
 เมื่อศาสดาซูยุฟ(อ)ได้พบกับเบนญามินซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับท่านทั้งสองมีความรักกันมากจนกระทั้งศาสดายูซุฟ(อ)ได้หายไปและได้เป็นรองกษัตย์แห่งอิยิปต์ ซึ่งในช่วงนั้นเมืองอิยิปต์และเมืองกันอานเป็นเมืองที่ศาสดายะอฺกูบ(อ)และพี่น้องอีกสิบเอ็ดคนของยบียูซุฟ(อ)อาศัยอยู่เกิดความแห้งแล้งจึงได้พากันเดินทางไปหาเสบียงที่เมืองอิยิปต์ เมื่อศาสดาซูยุฟ(อ)เห็นบรรดาพี่น้องของท่านซึ่งท่านจำพวกเขาได้แต่พวกจำศาสดายูซุฟ(อ)ไม่ได้ ศาสดายูซุฟ(อ)ได้วางแผนที่จะจับตัวเบนญามินไว้ไม่ให้กลับไปแต่ต้องทำให้สมเหตุสมผล เมื่อถึงเวลาที่ต้องใส่อาหารเสบียงไปให้แก่กองคาราวานของบรรดาพี่น้องของศาสดายุซุฟ ท่านได้สั่งให้ใส่ถ้วยทองคำไปในเสบียงของเบนญามิน หลังจากนั้นกองคาราวานก็ได้เดินออกจากเมือง มุ่งหน้ากลับไปยังเมืองกันอาน ท่านศาสดายูซุฟ(อ)ได้ส่งทหารม้าวิ่งไล่ตามมาพร้อมกับตะโกนว่า ซึ่งเรื่องราวอยู่ในซูเราะฮฺยูซุฟ โองการ 70-72
    ثمُ‏َّ أَذَّنَ مُؤَذِّنٌ أَيَّتُهَا الْعِيرُ إِنَّكُمْ لَسَارِقُون‏  
قَالُواْ وَ أَقْبَلُواْ عَلَيْهِم مَّا ذَا تَفْقِدُون‏  
قَالُواْ نَفْقِدُ صُوَاعَ الْمَلِكِ وَ لِمَن جَاءَ بِهِ حِمْلُ بَعِيرٍ وَ أَنَا بِهِ زَعِيم‏
“โอ้คณะผู้เดินทางเอ่ยแท้จริงพวกเจ้าได้ขโมย” “บรรดาพี่น้องของศาสดายูซุฟได้กล่าวพลางหันทางพวกเขาว่า มีอะไรหายไปจากพวกท่าน” “พวกเขา(ทหารที่ตามมา)กล่าวว่าขันน้ำของกษัตริย์(ศาสดายูซุฟ)ได้หายไป”
   การกระทำดังกล่าวของศาสดายูซุฟเป็นการโกหกเป็นวางแผนใส่ร้ายน้องชายคนเล็ก บรรดาพี่น้องของศาสดายูซุฟ(อ)ก็กล่าว่าแท้จริงท่านก็รู้ดีว่าเราไม่ได้มาเพื่อสิ่งนี้ เราไม่ได้มาเพื่อก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน ทหารที่ตามมากล่าวว่าถ้าพวกเจ้าโกหกละอะไรคือสิ่งลงโทษที่พวกเจ้าจะได้รับ บรรดาพี่น้องของศาสดายูซุฟ(อ)กล่าว่าบทลงโทษคือถ้าพบขันน้ำของกษัตริย์ในเสบียงของใครก็ให้จับตัวคนนั้นไป เหตุผลที่ท่านศาสดายูซุฟ(อ)ทำแบบนี้เพราะท่านรู้ธรรมเนียมของชาวกันอานดีคือผู้ที่ขโมยจะต้องถูกจับไปเป็นทาสของเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อทำการตรวจค้นก็ได้พบขันน้ำในเสบียงของเบนญามิน ซึ่งเป็นการใส่ร้ายและโกหก การทำดังกล่าวออกจากความเป็นผู้บริสุทธิ์ “อิศมัต” หรือไม่ 
  คำตอบคือ กรณีทั้งสองของศาสดาอิบรอฮีม(อ)และศาสดายูซุฟ(อ)คือ หลักในวิชาฟิกฮฺอันหนึ่งคือเตารียะฮฺ หมายถึงการพูดอย่างหนึ่งแล้วมุ่งไปยังอีกความหมายหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งเพื่อมุ่งหวังไปยังอีกความหมายหนึ่ง ในฮุกุ่มของพระองค์นั้นถือว่าไม่ผิดมีมากมายหลายวิธีที่เป็นเตารียะฮฺ 
    และบางอาลิมอุลามาอฺได้ตอบอีกในรูปลักษณะหนึ่ง เช่นในกรณีของศาสดาอิรอฮีม(อ)ท่านศาสดาได้กล่าว่า “พระเจ้าตัวใหญ่ของพวกมันเป็นผู้กระทำพวกเจ้าจงถามมันสิถ้าหากว่าพวกมันพูดได้” ประโยคนี้เป็นการตอบที่เป็นเงื่อนไขอยู่ เจว็ดตัวใหญ่นี้แหละทำถ้ามันพูดได้ ถ้ากลับประโยคคือว่าถ้าเจว็ดตัวใหญ่พูดได้มันนั้นและทำ ซึ่งในความเป็นจริงเจว็ดพูดไม่ได้ก็หมายความว่ามันไมได้ทำ ดังนั้นพูดของศาสดาอิบรอฮีม(อ)ท่านมีความระมัดระวังในการพูดและกรณีนี้ก็ไม่ได้เป็นการโกหก  ส่วนในกรณีของท่านศาสดายูซุฟ(อ) อัลลอฮฺก็กล่าวว่า ในโองการที่ 76
 كَذَالِكَ كِدْنَا لِيُوسُف‏
“และเช่นนั้นแหละเราได้วางแผนให้แก่ยูซุฟ”
6 เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดามูซา(อ)ฆ่าคนตาย เรื่องราวคือท่านศาสดามูซา(อ)ได้พบชาวอิยิปต์เจ้าของพื้นที่กำลังทะเลาะกับชาวบนีอิสรออีลซึ่งถือว่าเป็นชาวทาสในแผ่นดินอยิปต์ท่านจึงได้ต่อยไปที่ชายชาวอิยิปต์เพียงแค่หนึ่งมัดทำให้เขาตายซึ่งเป็นหมัดที่มีพลังเป็นอย่างมาก เท่ากับท่านศาสดา(อ)ได้ฆ่าคนตายโดยที่กรณีนี้ชารีอัตก็ไม่ได้อนุญาติให้ฆ่าด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านศาสดามูซา(อ)จึงต้องเดินทางออกจากเมืองอิยิปต์ ซึ่งก็หมายความการฆ่าคนตายนั้นเป็นบาปใหญ่ หลังจากนั้นอัลลอฮฺ(ซบ)ได้มีคำสั่งให้ศาสดามูซา(อ)กลับไปยังอิยิปต์เพื่อเริ่มภารกิจเชิญชวนฟิรอูนเข้าสู่การศรัทธา ท่านศาสดาได้ตอบอัลลอฮฺ(ซบ)ว่า ในซูเราะฮฺ อัชชุอารออฺ โองการที่ 14
وَ لهَُمْ عَلىَ‏َّ ذَنبٌ فَأَخَافُ أَن يَقْتُلُون‏
“และพวกเขามีข้อกล่าวหาต่อฉัน ดังนั้นฉันกลัวว่าพวกเขาจะฆ่าฉัน”
    การฆ่าคนตายในอิยิปต์ต้องทดแทนด้วยกับชีวิต ยิ่งการฆ่าชาวพื้นเมืองด้วย ซึ่งศาสดามูซาเป็นบานีอิสรออีลและชาวบานีอิสรอฮีลในขณะนั้นยังคงเป็นทาสอยู่ในอิยิปต์ เมื่อศาสดามูซา(อ)กลับไปยังอิยิปต์ฟิรอูนได้กล่าวกับศาสดามูซา(อ)ว่าเราไม่ได้เลี้ยงดูเจ้าหรือในตอนที่เจ้าเป็นเด็กแล้วทำไมเจ้าได้ฆ่าชาวเมืองของฉันชาวอิยิปต์ได้เลี้ยงดูเจ้ามาแต่เจ้าได้เป็นผู้ที่เนรคุณต่อพวกเขา และโองการต่อมาที่20 ท่านศาสดามูซา(อ)ได้ตอบว่า
قَالَ فَعَلْتُهَا إِذًا وَ أَنَا مِنَ الضَّالِّين‏
“เขา(มูซา)กล่าวว่าฉันได้กระทำมันโดยที่ฉันไม่รู้”
    คำตอบคือ การฆ่าคนตายในครั้งนี้ไม่ได้เกิดมาจากความตั้งใจ ท่าศาสดามูซา(อ)ไม่ได้รู้ในผลานุภาพของมัดนั้นและไม่รู้ถึงผลของมันว่าจะทำให้ถึงแก่ความตาย การฆ่าคนตายโดยไม่ได้เจตนาตามหลักชารีอัตไม่ถือว่าเป็นบาปแต่ต้องชดใช้ในความประมาท แต่ถ้ามีเจตนาด้วย ทั้งเป็นบาปทั้งต้องชดใช้
    และคำว่า “ซัมบุน” บาปในโองการนี้หมายถึงบาปในทัศนะของชาวอิยิปต์ พวกเขาถือว่าการที่ท่านศาสดามูซา(อ)การกระทำผิดต่อชาวอิยิปต์ได้ต่อยคนตายนั้นเป็นบาปเป็นความผิดสำหรับพวกเขา
  7    ซูเราะฮฺอัลยูนุส โองการ 94
 فَإِن كُنتَ فىِ شَكٍ‏ّ مِّمَّا أَنزَلْنَا إِلَيْكَ فَسَْلِ الَّذِينَ يَقْرَءُونَ الْكِتَابَ مِن قَبْلِكَ  لَقَدْ جَاءَكَ الْحَقُّ مِن رَّبِّكَ فَلَا تَكُونَنَّ مِنَ الْمُمْترَِين‏
“ถ้าเจ้ามีความคลางแคลงสงสัยใดในสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าก็จงถามบรรดาผู้อ่านคัมภีร์ก่อนหน้าเจ้าโดยแน่นอนสัจธรรมได้มายังเจ้าแล้วจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ดังนั้นเจ้าอย่าอยู่ในบรรดาผู้คลางแคลง”
ซูเราะฮฺอัซซะยาดะฮฺ โองการที่ 23
وَ لَقَدْ ءَاتَيْنَا مُوسىَ الْكِتَابَ فَلَا تَكُن فىِ مِرْيَةٍ مِّن لِّقَائهِ‏
“และโดยแน่นอนเราได้ประทานคัมภีร์แก่มูซา ดังนั้นเจ้า(มูฮัมหมัด)อย่าได้อยู่ในการสงสัยในการพบมันเลย”
   โองการต่างๆเหล่านี้ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล) และยังชี้ว่าศาสดามีความสงสัย ศาสดาเองมีความสงสัยในขณะที่ได้พิสูจน์ไปแล้ว่าศาสดาแม้แต่ความรู้ก็มีความบริสุทธิ์ แล้วโองการอัลกุรอานในลักษณะดังกล่าวขัดกันหรือไม่
    คำตอบคือหนึ่งในหลักของการสาธยายอัลกุรอานที่เป็นที่ยอมรับทั้งซุนนีทั้งชีอะหฺ  ซึ่งตรงกับสำนวนไทยคือ “ตีวัวกระทบคลาด” และในภาษาอัลกุรอานก็ใช้ หมายถึงพูดกับคนหนึ่งเพื่อที่จะสอนกับอีกบุคคลหนึ่ง สำนวนอาหรับคือ “ทุบกำแพง” เป้าหมายเพื่อให้คนได้ยินเสียงทุบกำแพงไม่ได้หมายถึงการทุบกำแพง ดังนั้นโองการเหล่านี้อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องการที่จะบอกกับมนุษย์ต้องการที่จะเตือนมนุษย์ทุกคนอย่าได้สงสัยในสิ่งที่ถูกประทางลงมาอย่าได้สงสัยในสัจธรรม ทว่าโองการนั้นได้ประทานลงมาให้ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)เพื่อต้องการเตือนมุสลิมทุกคน เป็นการพูดผ่านท่านศาสดา โองการในอัลกุรอานจำนวนมาที่อยู่ในลักษณะนี้ เช่น
ซูเราะฮฺ อะบะซะ โองการ 1-2
أَن جَاءَهُ الْأَعْمَى‏  عَبَسَ وَ تَوَلى‏ضهسه   
“เจ้าทำหน้าบึงตึงและหันหน้าหนีเมื่อคนตาบอดมาหาเจ้าหรือ”
  ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)ไม่ได้ทำพฤติกรรมนี้แต่อัลลอฮฺ(ซบ)ต้องกาที่จะตำหนิบุคคลอื่นแต่ตำหนิโดยผ่านท่านศาสดา(ศ็อล) โองการถูกประทานลงมาเพื่อให้ท่านศาสดาประกาศ
 
ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)