เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 16 (ความเป็นศาสดา)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 16 (ความเป็นศาสดา)

 

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับศาสดา

1 ได้พิสูจน์ตามหลักฐานทางสติปัญญาถึงความจำเป็นของการมีศาสดามาแล้ว คำถามต่อไปคืออะไรคือหลักฐานทางสติปัญญาของการมีศาสดาอย่างมากมายทำไมไม่มีศาสดาเพียงคนเดียว

   คำตอบคือ ประชาชาติในยุคนั้นอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลกันกระจัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างและในยุคสมันนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีจึงไม่สามารถติดต่อกันได้จึงจำเป็นต้องมีศาสดาไปสอนในแต่ละประชาชาติในแต่ละพื้นที่ 

    เป้าหมายหลักอันหนึ่งของศาสดามาเพื่อที่จะอบรมสั่งสอนมนุษย์และในขณะเดียวกันไม่มีศาสดาองค์ใดที่มีชีวิตยืนยาวถึงวันกียามัตได้เพราะมันขัดกับฮิกมะฮฺในการสร้างโลกเนื่องจากโลกนี้เป็นโลกแห่งการทดสอบ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาเพื่อที่จะถูกทดสอบและถ้าหากมีชีวิตยืนยาวก็เป้าหมายการทดสอบก็ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มีสถานที่ตอบแทนซึ่งโลกนี้ไม่สามารถที่จะตอบแทนได้อย่างสมบูรณ์

   สภาวะสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยแตกต่างกันเมื่อแตกต่างกันคำสั่งสอนของศาสดาแต่ละยุคแต่ละสมัยก็จำเป็นต้องมีความแตกต่างกัน กฎเกณฑ์บทบัญญัติลักษณะหนึ่งเหมาะสมหรือมีความจำเป็นในพื้นหนึ่งและอาจจะไม่มีความจำเป็นหรือมีความเหมาะสมในอีกพื้นที่หนึ่ง ศาสดานำคำสอนที่ตรงตามความต้องการของพื้นที่นั้นๆมา

     การอบรมสั่งสอนของศาสดาเพื่อนำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ความสมบูรณ์ทุกรูปแบบทั้งความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณทั้งความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ คำสั่งสอนเหล่านี้ที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์นั้นไม่สามารถที่สั่งสอนได้ภายในยุคเดียวสมัยเดียวต้องค่อยๆสอนต้องค่อยๆพัฒนาต้องใช้เวลา เห็นได้ว่าในประวัติศาสตร์บางยุคบางสมัยมนุษย์ยังไม่มีแม้แต่วัฒนธรรมยังไม่มีแม้แต่ประเพณีใดๆ บางยุคบางสมัยมนุษย์ยังกินเนื้อคนด้วยกันเป็นอาหาร อยู่ๆศาสดานำคำสอนที่ห้ามกินเนื้อหมูมาบอกในขณะที่พวกเขายังกินเนื้อมนุษย์ด้วยกันอยู่ มันไม่เข้ากันมันเป็นการปรับที่เร็วเกินไปต้องค่อยๆแก้ไข้สั่งสอนต้องค่อยๆพัฒนา กรณีนี้ศาสดาจะทำอย่างให้พวกเขาหลุดมาจากการกินเนื้อมนุษย์มากินสัตว์ก่อน หลังจากนั้นค่อยบอกต่อว่าสัตว์ไหนกินได้สัตว์กินไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอน หรือบางยุคสมัยต้องเอาพวกเขาออกจากการไหว้วัวไหว้ควายแล้วสอนให้พวกเขารู้จักอัลลอฮฺ(ซบ) และกว่าจะไปถึงขั้นพัฒนาถึงขั้นพบเจอพระองค์ (ฟานาอฺ)ต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน  

ริซาลัตที่สมบูรณ์ยังไม่ถูกสอนในยุคเหล่านี้ ศาสดามาค่อยๆนำมนุษย์เข้าสู่ยุคที่สูงขึ้น นี่ก็เป็นเหตุผลที่เมื่อศาสดาหนึ่งได้จากไปศาสดาอีกองค์ก็ต้องถูกส่งลงมาเพื่อสานต่อภารกิจ และทุกๆศาสดาที่ถูกส่งมาใหม่ก็นำคำสั่งสอนที่เพิ่มเติมมาด้วย เช่นศาสดามูฮัดหมัด(ศ็อล) เบื้องต้นท่านนำบรรดาผู้ตั้งภาคีแห่งเมืองมักกะฮฺออกจากการไหว้เจว็ดเป็นลำดับแรก แล้วท่านจึงค่อยๆนำพวกเขาออกจากการคลั่งไคล้ในความเป็นอาหรับเผาพันธ์กว่าจะพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์นั้นต้องใช้เวลานานเป็นอย่างมากและศาสดาแต่ละองค์มีเวลาไม่เพียงพอที่จะรอให้มนุษย์พัฒนา ถึงจำเป็นจะต้องมีศาสดาถูกประทานลงมาอย่างต่ออย่างต่อเนื่อง

   ในประวัติศาสตร์ได้ยืนยันและรับรองว่าทุกๆครั้งหลังจาการจากไปของศาสดาองค์หนึ่งจะเกิดการบิดเบือนคำสั่งสอนของศาสดา ค่อยๆถูกบิดเบือน หรือบางครั้งพระศพของศาสดายังไม่ถูกฝังการบิดเบือนก็เกิดขึ้นเสียแล้ว เช่นศอฮาบะฮฺของศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)พวกเขาไปเลือกตั้งตัวแทนของท่านศาสดากันที่สะกีฟะฮฺบานีสะอีดะฮฺซึ่งเป็นซ่องโจรทั้งๆที่ท่านศาสดาได้แต่งตั้งคอลีฟะฮฺตัวแทนหลังจากท่านไว้แล้วแต่พวกเขาไม่เชื่อฟังจำนวนมากไม่ปฏิบัติตาม การบิดเบือนได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่ศาสดาได้จากไป ดังนั้นเพื่อที่จะรักษาความบริสุทธิ์ของศาสนาจึงต้องมีศาสดามาหลายท่าน มาเพื่อที่จะฟื้นฟูคำสั่งสอนของศาสนาให้บริสุทธิ์อีกครั้ง มาเพื่อที่จะนำคำสั่งสอนที่ถูกบิดเบือนกลับมาแก้ไขในถูกต้อง

  - คำสั่งสอนหลักๆของบรรดาศาสดามีสองประเภท เป็นคำสั่งสอนหลักที่เหมือนกันทุกๆศาสดาทั้งในภาคศรัทธาและภาคปฏิบัติ คำสั่งสอนหลักของทุกๆศาสดาในภาคศรัทธามีอยู่สามประการ 

1 มับดะฮฺหรือเตาฮีดปฐมเหตุแรกในการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง 

2 นบูวัต ความเป็นศาสดา 

3 มะอาดวันสิ้นโลกสถานที่สุดท้ายที่มนุษย์จะต้องกลับไป

   ส่วนในภาคปฏิบัติที่มีความเหมือนกัน คือการนำมนุษย์เข้าสู่การอิบาดัตภักดีการนมาซซึ่งรูปแบบของนมาซมีความแตกต่างกันมีความแตกต่างกันในรายละเอียดเช่นยุคหนึ่งการอิบาดัตการนมาซจะผินหน้าไปทางบัยตุลมุกอสอิส ยุคหนึ่งผินหน้าไปทางอัลกะบะอฺ หรือเรื่องซะกาตการจ่ายทานก็เช่นเดียวกันมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยแต่มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนบางยุคศาสดาองค์หนึ่งจ่ายครึ่งหนึ่ง บางยุคศาสดาอีกองค์หนึ่งอาจจะจ่ายไม่ถึงครึ่ง ศาสดาทุกองค์นำมนุษย์เข้าสู่การอิบาดัตต่อพระองค์ มาสอนไปแนวทางเดียวกัน เรื่องหลักนั้นมีความเหมือนกันทั้งภาคศรัทธาทั้งภาคปฏิบัติ หน้าที่ของประชาชนคือจะต้องปฏิบัติตามคำสอนในยุคศาสดาของตนเอง ไม่ใช่ว่าจะตามท่านไหนก็ได้เช่นยุคนี้มนุษย์จะตามศาสดามูซา(อ)ไม่ได้ เราจะนมาซแบบศาสดาอื่นๆไม่ได้เพราะมันหมดยุคแล้วเข้าสู่ศาสดาองค์ใหม่แล้วถึงแม้ค่ำสอนหลักๆจะเหมือนกัน แต่มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ในการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติในคำสั่งสอนของศาสดาในยุคอื่นๆ แต่ทว่ามนุษย์มีหน้าที่ต้องศรัทธาในบรรดาศาสดาทุกๆองค์ ถึงแม้ไม่ได้เป็นประชาชาติของศาสดาอิบรอฮีม ถึงแม้ไม่ได้เป็นประชาชาติของศาสดามูซา(อ) ถึงแม้ไม่เป็นประชาชาติของศาสดาอีซา(อ)แต่ก็ไม่ได้มายความว่าเรามีสิทธิ์ปฏิเสธศาสดาเหล่านั้น เราต้องศรัทธาในศาสดาเหล่านั้น ทั้งหมดและหน้าที่ต้องศรัทธาเป็นเรื่องที่มีอยู่ในอัลกุรอาน 

ซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ โองการ 285

ءَامَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنزِلَ إِلَيْهِ مِن رَّبِّهِ وَ الْمُؤْمِنُونَ  كلُ‏ٌّ ءَامَنَ بِاللَّهِ وَ مَلَئكَتِهِ وَ كُتُبِهِ وَ رُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَينْ‏َ أَحَدٍ مِّن رُّسُلِهِ  وَ قَالُواْ سَمِعْنَا وَ أَطَعْنَا  غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَ إِلَيْكَ الْمَصِير

“ศาสดาได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ประทานลงมาแก่เขาจากพระผู้อภิบาลของเขา และผู้ศรัทธาทั้งหลายก็ได้ศรัทธาด้วย ทุกคนได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและมาลาอิกะฮฺของพระองค์และบรรดาคัมภีร์และบรรดาศาสดาของพระองค์ โดยพวกเขากล่าว่าเราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาศาสดาของพระองค์ และพวกเขากล่าวว่าเราได้ยินแล้วและได้ปฏิบัติตามแล้วการอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่เราปรารถนา และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป”

ซูเราะฮฺอาลอิมรอน โองการ 84

قُلْ ءَامَنَّا بِاللَّهِ وَ مَا أُنزِلَ عَلَيْنَا وَ مَا أُنزِلَ عَلىَ إِبْرَاهِيمَ وَ إِسْمَاعِيلَ وَ إِسْحَاقَ وَ يَعْقُوبَ وَ الْأَسْبَاطِ وَ مَا أُوتىِ‏َ مُوسىَ‏ وَ عِيسىَ‏ وَ النَّبِيُّونَ مِن رَّبِّهِمْ لَا نُفَرِّقُ بَينْ‏َ أَحَدٍ مِّنْهُمْ وَ نَحْنُ لَهُ مُسْلِمُون‏

“จงกล่าวเถิดมูฮัมหมัด ว่าเราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่ถูกประทานมาแก่เราและสิ่งที่ถูกประทานมาแก่อิบรอฮีมและอิสมาอีนและอิสหากและยะฮฺกูบและบรรดาผู้สืบเชื้อสายจากยะฮฺกูบ และศรัทธาต่อสิ่งที่มูซาและอีซาและบรรดาศาสดาทั้งหลายได้รับจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา โดยที่เราจะไม่แยกระหว่างคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขา และพวกเรานั้นเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์”

   ซูเราะฮ์อัลนิซาอฺ โองการ 136

يَأَيهَُّا الَّذِينَ ءَامَنُواْ ءَامِنُواْ بِاللَّهِ وَ رَسُولِهِ وَ الْكِتَابِ الَّذِى نَزَّلَ عَلىَ‏ رَسُولِهِ وَ الْكِتَابِ الَّذِى أَنزَلَ مِن قَبْلُ  وَ مَن يَكْفُرْ بِاللَّهِ وَ مَلَئكَتِهِ وَ كُتُبِهِ وَ رُسُلِهِ وَ الْيَوْمِ الاَْخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلَالَا  بَعِيدًا

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อศาสดาของพระองค์และต่อคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดาของพระองค์และต่อคัมภีร์ที่พระองค์ได้ประทานมาก่อนนั้น และผู้ใดปฏิเสธสรัทธาต่ออัลลอฮฺและมาลาอิกะฮฺของพระองค์และต่อบรรดาศาสดาของพระองค์และวันปรโลกแล้วไซร้แน่นอนเขาได้หลงทางอย่าไกลโพ้น”

   มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธศาสดาองค์หนึ่งองค์ใด การปฏิเสธศาสดาก็เท่ากับปฏิเสธอัลลอฮฺ(ซบ)และมนุษย์ไม่มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธคัมภีร์เล่มใดก็ตามที่มาจากพระองค์ทั้งคัมภีร์อิญีล เตารอต ซะบูร 

3 อีกโองการหนึ่งที่ยืนยันว่าทุกๆประชาชาตินั้นมีศาสดา 

ซูเราะฮฺอัลนะฮฺลฺโองการ 36

وَ لَقَدْ بَعَثْنَا فىِ كُلّ‏ِ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللَّهَ وَ اجْتَنِبُواْ الطَّغُوت‏

“และโดยแน่นอนเราได้ส่งศาสดาไปในทุกประชาชาติ โดยบัญชาว่าพวกเจ้าจงเคารพภักดีอัลลอฮฺองค์เดียวและจงออกห่างจากบรรดาผู้อธรรม”

    เมื่อทุกๆประชาติต้องจำเป็นต้องมีศาสดานี้ก็เป็นเหตุผลทางสติปัญญาว่าศาสดาต้องมีมากกว่าหนึ่งองค์เพราะประชาติมีหลายประชาชาติ มีภาษาที่แตกต่างกัน ศาสดาก็ต้องไปสั่งสอนด้วยกับภาษาของประชาชาตินั้นๆด้วยเช่นเดียกัน

    ศาสดาบางท่านอัลลอฮฺ(ซบ)ได้กล่าวชื่อของพวกเขาไว้ในอัลกุรอาน และศาสดาบางท่านอัลลอฮฺ(ซบ)ไม่ได้กล่าวถึงชื่อของพวกเขา 

     เรื่องราวหนึ่ง คือเรื่องราวศาสดามูซา(อ)กับศาสดาคัยเดร(อ)ซึ่งอัลกุรอานเรียกว่าว่าอับดุซซอแหละฮฺ อัลกุรอานได้กล่าวชื่อศาสดาไว้ 25 ท่าน และไม่ได้เอ่ยชื่ออีกเป็นจำนวนมาก บางครั้งใช้คำว่านะศีร บะชีร ศอลิฮีน มุคละศีน มาในนามเหล่านี้ซึ่งก็คือบรรดาศาสดาที่อัลกุรอานไม่ได้กล่าวชื่อไว้โดยตรง และบางศาสดาไม่ได้พูดถึงเลย รวบรวมแล้วศาสดาจากรายงานอัลฮาดิษ 124,000 เป็นรอซูล 313 องค์ เท่ากับนักรบในสงครามบะดัรและเท่ากับจำนวนทหารพิเศษของอิมามมะฮ์ดี(อ)313 คนเช่นเดียวกัน และใน 313 นี้มีอูลุลอัซม์  5  องค์ อูลุลอัซม์ คือศาสดาที่นำชารีอัตมา เป็นเจ้าของชารีอัตที่สมบูรณ์ ซึ่งมี 5 ท่านเท่านั้นในโลกนี้ และศาสดาอื่นๆมาสั่งสอนภายใต้คำสั่งสอนของศาสดาเหล่านนี้ ซึ่ง 5 ท่านดังกล่าวคือศาสดานุฮ์ ศาสดาอิบรอฮีม ศาสดามูซา ศาสดาอีซา และศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล)

 

ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม