เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ชีวประวัติของท่านซัลมาน อัลฟาร์ซีย์

1 ทัศนะต่างๆ 05.0 / 5

ชีวประวัติของท่านซัลมาน อัลฟาร์ซีย์

 

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ได้กล่าวถึงซัลมานว่า

سلمان منا اهل البیت

 

(بحار الانوار، ج 10، ص 121؛ ج 11، ص 148 و 313؛ ج 17، ص 170؛ ج 18، ص 19؛ ج 20، ص 188 و 198؛ ج 22، ص 326، 329، 348، 373، و 385؛ ج 30، ص 223؛ ج 37، ص 331)

“ซัลมานมาจากเราอะฮ์ลุลบัยต์”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 10 หน้าที่ 121 ,เล่มที่ 11 หน้าที่ 148 และ 313 ,เล่มที่ 17 หน้าที่ 170 ,เล่มที่ 18 หน้าที่19 ,เล่มที่ 20 หน้าที่ 188-198 ,เล่มที่ 22 หน้าที่ 326 , 329, 348 ,373 และ 385 ,เล่มที่ 30 หน้าที่ 223 และเล่มที่ 37 หน้าที่ 331)

 

ซัลมานคือใคร?

ณ หมู่บ้านหนึ่งในเมืองอิศฟาฮาน ได้มีทารกน้อยถือกำเนิด ซึ่งมีนามว่า

รูซเบฮ์ จากครอบครัวของโซโรแอสเตอร์ (พวกบูชาไฟ)ซึ่งบิดาของเด็กน้อยเป็นผู้นำหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นผู้ดูแลรักษาและจุดไฟ โดยทำหน้าที่หาไม้เพื่อนำมาจุดไฟ ส่วนมารดาของเขา ได้เสียชีวิต ขณะที่เขายังเล็กอยู่ และเขาได้รับการเลี้ยงดูโดยน้องสาวของมารดาจนเติบใหญ่

หลังจากที่รูซเบฮ์ ได้โตขึ้น เขาต้องการแสวงหาสัจธรรม ก็หนีออกจากหมู่บ้านไป และพบกับชาวคริสเตียนคนหนึ่งที่เคร่งครัดในศาสนา และบอกกับท่านว่า จะมีศาสดาองค์หนึ่งมาในยุคสุดท้าย เพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติสู่แนวทางที่เที่ยงตรง หลังจากนั้นเขาก็ได้แสะหาจนได้พบกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ)ในขณะที่เขาเป็นทาสของชาวยะฮูดี และเขาก็ได้รับอิสลามและท่านศาสดาได้ตั้งชื่อท่านว่า ซัลมาน

 

การได้รับอิสรภาพของท่านซัลมาน

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) ได้ทำการซื้อตัวท่านซัลมานจากชาวยะฮูดี ด้วยกับต้นอินทผลัม จำนวนสี่สิบ ต้น และเงินจำนวนหนึ่ง ( 40 วะกียะฮ์ มีค่าเท่ากับ 40 ดิรฮัม) และเมื่อท่านได้ซื้อท่านซัลมาน จึงปล่อยให้เป็นไท

สมญานามของท่านซัลมานคือ อะบูอับดิลลาฮ์

ฉายานามของท่านซัลมาน

ซัลมาน อัลฟาฏิล (ผู้ประเสริฐ) ซัลมาน อัลค็อยร์(ความดีงาม)ซัลมาน อัลมุฮัมมะดีย์

ท่านซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ เป็นสาวกผู้ใกล้ชิดท่านศาสดา คนสำคัญคนหนึ่งของท่านศาสดา

และวันที่ 8 เดือนซอฟัร คือ วันที่ท่านซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ได้อำลาจากโลกนี้ไปในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 36 ขณะที่ท่านนั้น มีอายุได้ 250 ปี หรือ บางรายงานกล่าวว่า ท่านมีอายุถึง 350ปี

ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก กล่าวไว้ว่า

“ซัลมานนั้น มีความรู้จากความรู้อันแรก จนถึงสุดท้าย และท่านยังเปรียบดั่งมหาสมุทรแห่งวิชาการความรู้ ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ เพราะท่านนั้น คือ ซัลมาน จากเรา อะฮ์ลุลบัยต์

 

แปล/เรียบเรียง อิบนุมุฮัมมัด

 

 

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม