เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.)


ฮะซัน บินอะลี บินมุฮัมมัด (อ.) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อว่า อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.)(ภาษาอาหรับ : الإمام الحسن العسكري عليه السلام ) ( 232-260 ฮ.ศ.) เป็นอิมามคนที่ 11 ของชีอะฮ์อิมามสิบสอง เขาดำรงตำแหน่งอิมามัต เป็นเวลาหกปี เป็นบุตรชายของอิมามฮาดี (อ.) และเป็นบิดาของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)

ฉายานามที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขา คือ อัสกะรีย์ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการถูกบังคับให้พำนักในเมืองซามัรรออ์ เขาอยู่ภายใต้การดูแลของระบอบการปกครองราชวงศ์บะนีอับบาซียะห์ และเผชิญกับข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของเขา อิมามอัสกะรีย์ (อ.) ติดต่อกับชาวชีอะฮ์โดยผ่านทางตัวแทนของเขาและผ่านการเขียนจดหมาย ซึ่งอุษมาน บิน ซะอีด ตัวแทนพิเศษคนแรกของอิมามมะฮ์ดีย์ (อ.ญ.) เป็นหนึ่งในตัวแทนพิเศษของเขาด้วย

อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) เป็นชะฮีด เมื่อวันที่ 8 เดือนรอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 260 ในเมืองซามัรรออ์ ขณะที่อายุ 28 ปี และร่างของเขาถูกฝังไว้ข้างสุสานบิดาของเขา สถานที่ฝังศพของทั้งสองจึงถูกรู้จักกันในชื่อ ฮะร็อม อัซกะรียันย์ และถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ซิยาเราะห์ที่สำคัญในอิรักอีกด้วย

มีรายงานฮะดีษจากอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ในประเด็นต่างๆ เช่น การอรรถาธิบายอัลกุรอาน จริยธรรม นิติศาสตร์ ประเด็นด้านหลักศรัทธา บทขอพรและซิยาเราะฮ์ เป็นต้น

ชีวประวัติ
เชื้อสาย : เชื้อสายของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) จนถึงอะลี บิน อบีฏอลิบ (อ.) ซึ่งเป็นอิมามคนแรกของชีอะฮ์ โดยผ่านแปดเชื้อสาย [1] อิมามฮาดีย์ (อ.) บิดาของเขา เป็นอิมามคนที่สิบในบรรดาอิมามของชีอะฮ์อิมามสิบสอง ตามรายงานจากแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ มารดาของเขา เป็นทาสรับใช้ และชื่อของนาง คือ ฮุดัยษ์หรือ ฮะดีษะห์ [2] ในบางแหล่งข้อมูล ระบุว่า ชื่อของนาง คือ ซูซัน [3] อัซฟาน [4] (กล่าวกันว่าชื่อนี้ ถูกกล่าวถึงในหนังสือของนูบัคตีเท่านั้น) [5]) ฮัรบียะฮ์ [6] และซะลีล [7] ก็ถูกบันทึกไว้ด้วยเช่นกัน อิมามอัสกะรีย์ (อ) มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ ญะอ์ฟัร ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ญะอ์ฟัร อัลกัซซาบ หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) เขาได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นอิมามัตและปฏิเสธการให้กำเนิดบุตรแก่อิมามอัสกะรีย์ เขาถือว่าเป็นผู้สืบทอดมรดกของอิมามอัสกะรีย์เพียงคนเดียว[8] ซัยยิด มุฮัมมัดและฮุเซน เป็นพี่น้องของเขา (9)

สมญานาม : สมญานามของเขา คือ ฮาดีย์, นะกี, ซะกี, รอฟีก และศอมิต นักประวัติศาสตร์บางคนยังได้กล่าวถึงสมนาญามว่า คอลิศ (10) อิบนุริฎอ ซึ่งเป็นสมญานามของอิมามญะวาด (อ.) อิมามฮาดีย์ (อ.) และอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ ก็ถูกรู้จักด้วยสมญานามนี้ สมญานาม อัสกะรีย์ เป็นสมญานามที่ร่วมกันระหว่างอิมามฮาดีย์และอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ เพราะว่า ทั้งสองถูกบังคับให้พำนักในเมืองซามัรรออ์ [หมายเหตุ 1] [12] นอกเหนือจากนี้ เนื่องจากมีการใช้ชื่อ ฮะซัน ร่วมกันระหว่างเขากับอิมาม ฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) เขาจึงถูกเรียกว่า ฮะซัน อัลอะคิร ด้วย (13)

ฉายานาม : ฉายานามของเขา คือ อะบูมุฮัมมัด [14] ในบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า ฉายานามของเขา คือ อะบุลฮะซัน [15] อะบุลฮัจญะฮ์, [16] และอะบุลกออิม[17] ก็ถูกนำมาใช้ด้วยเช่นกัน

การถือกำเนิด : ส่วนมากของแหล่งข้อมูล ถือว่า เขาถือกำเนิดในเมืองมะดีนะฮ์ [18] อย่างไรก็ตาม ยังการกล่าวถึงการถือกำเนิดของเขาในเมืองซามัรรออ์อีกด้วย [19] แหล่งข้อมูลเดิมส่วนมากของอิมามียะฮ์ ถือว่า เขา ถือกำเนิดในเดือนรอบีอุษษานี ปีที่ 232 ฮ.ศ. [20] มีริวายะฮ์จากอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ยังได้กล่าวถึงในวันเดียวกันนี้อีกด้วย [21] บางแหล่งข้อมูลอื่นๆ ของอิมามียะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะห์ เขียนว่า เขาถือกำเนิดในปี 231 ฮ.ศ. [22] เชคมุฟีด เขียนในหนังสือ มะซารุชชีอะฮ์ และฮะดาอิกุรริยาฎ ว่า เขาถือกำเนิดในวันที่ 10 เดือนรอบีอุษษานี (23) คำกล่าวถูกปัดตกไปในศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะห์ศักราช และการถือกำเนิดของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ เป็นที่รู้จักในวันที่ 8 เดือนรอบีอุษษานี[24] ซึ่งถือเป็นทัศนะที่เป็นที่รู้จักในหมู่อิมามียะห์ด้วย

การเป็นชะฮีด : อิมามอัสกะรีย์ (อ.) เป็นชะฮีดในวันที่ 8 เดือนรอบีอุลเอาวัล ปี 260 ฮ.ศ. [25] ในสมัยการปกครองของมุอ์ตะมิด อับบาซีย์ ขณะที่อายุ 28 ปี [26] นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการเป็นชะฮีดของเขาในเดือนรอบีอุษษานี และญะมาดิลอูลา [27] เชค มุฟีด กล่าวว่า เนื่องจากเขามีอาการป่วย จนเสียชีวิต [28] อย่างไรก็ตาม ตามคำกล่าวของฟัฎล์ บิน ฮะซัน เฏาะบัรซี เขียนในหนังสืออะลามุลวะรอ ว่า ส่วนมากของบรรดานักวิชาการอิมามียะฮ์ เชื่อว่า อิมามอัสกะรีย์ (อ.) เป็นชะฮีด เนื่องจากการถูกวางยาพิษ เช่นเดียวกับบรรดาอิมามคนอื่นๆ (29) หลักฐานของพวกเขา คือ ริวายะฮ์ والله ما منّا الا مقتول شهيد

ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ไม่มีอะไรจากพวกเรา นอกจากการถูกสังหาร เป็นชะฮีด

รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) (28) นอกเหนือจากนี้ ซัยยิด ญะอ์ฟัร มุรตะฎอ อามิลีย์ นักประวัติศาสตร์ ยังได้นำคำกล่าวของเชค มุฟีด (ที่ว่า อิมามเสียชีวิต เนื่องจากความเจ็บป่วย) เป็นการตะกียะฮ์ (31) ตามบางรายงานทางประวัติศาสตร์ ผู้ปกครองสองคนก่อนมุอ์ตะมัดต้องการสังหารอิมามอัสกะรีย์(อ) อีกด้วย มีริวายะฮ์ รายงานว่า มุอ์ตัซ อับบาซีสั่งให้ฮาญิบ (องค์รักษ์พิเศษ) ของเขา สังหารอิมามระหว่างทางไปยังเมืองกูฟะห์ แต่เมื่อประชาชนได้รับแจ้ง เขาก็กระทำไม่สำเร็จ มีอีกบางรายงาน กล่าวว่า มุฮ์ตะดี อับบาซียังตัดสินใจที่จะสังหารอิมามในคุก แต่การตัดสินใจของเขาไม่เป็นผลสำเร็จและการปกครองของเขาได้สิ้นสุดลง [33] อิมามอัสกะรีย์ (อ.) ถูกฝังอยู่ในบ้านของเขาในเมืองซามัรรออ์ ซึ่งอิมามฮาดีย์ (อ.) ก็ถูกฝังอยู่ ณ ที่นั่นด้วย [34] มีรายงานว่าอับดุลลอฮ์ บิน คอกอน รัฐมนตรีที่ได้รับความไว้วางใจของ มุอ์ตะมัด อับบาซี [35] หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ตลาดได้ถูกปิดทำการ และบะนี ฮาชิม บรรดาผู้อาวุโส บุคคลสำคัญทางการเมือง และประชาชนได้เข้าร่วมในพิธีศพของเขา [36] วันนี้ในปฏิทินอย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ถือเป็นวันหยุดราชการ เนื่องในโอกาสวันเริ่มต้นการเป็นอิมามัตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) (37)

ภรรยา : ตามรายงานที่เป็นที่รู้จัก ระบุว่า อิมามอัสกะรีย์ (อ.) ไม่ได้มีภรรยา และเชื้อสายของเขาสืบเชื้อสายมาจากนางสนมซึ่งเป็นมารดาของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) เท่านั้น (38) ชื่อมารดาของอิมามมะฮ์ดี มีหลายชื่อและมีความแตกต่างกันในเแหล่งข้อมูลต่างๆ ในบางแหล่งข้อมูล รายงานว่า อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) มีทาสรับใช้และนางสนมทั้งเป็นชาวโรมัน ศ็อกลา และชาวตุรกี จำนวนมาก [39] และบางทีความแตกต่างในชื่อมารดาของอิมามมะฮ์ดี เนื่องมาจากจำนวนนางสนมเป็นจำนวนมาก และในทางกลับกัน เพื่อให้การถือกำเนิดของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) เป็นความลับ (40)

บุตร : ตามแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์ส่วนใหญ่ บุตรคนเดียวของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) คือ อิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ซึ่งถูกรู้จักในนามว่า มุฮัมมัด [41] ในบรรดานักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะห์ เช่น อิบนุ อะษีร, ชับลันญี และอิบนุ ศอบบาฆ มาลิกี ยังได้ถือว่า ชื่อ มุฮัมมัด ที่ถูกกล่าวถึงเป็นบุตรชายของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) (42)

มีทัศนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบุตรของอิมาม และถือว่า เขามีบุตรชายสามคนและบุตรสาวสามคน [43] เคาะศีบี นอกเหนือจากอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) เขายังกล่าวถึงบุตรสาวสองคน ชื่อ ฟาฏิมะฮ์และดาลาละฮ์ [44] และอิบนุ อบีอัลษัลญ์ นอกเหนือจากอิมามมะฮ์ดีแล้ว อิมามอัสกะรีย์ยังมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า มูซาและบุตรสาวสองคน ชื่อ ฟาฏิมะฮ์และอาอิชะฮ์ (หรืออุมมุ มูซา) [45] แต่ในหนังสือลำดับวงศ์ตระกูลบางเล่ม ชื่อที่ถูกกล่าวถึงนั้นเป็นน้องสาวและน้องชายของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) (46) ซึ่งบางทีพวกเขาอาจสับสนกับบรรดาบุตรของอิมาม ในทางกลับกัน บางแหล่งข้อมูลของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ปฏิเสธการมีอยู่ของบุตรสำหรับอิมามอัสกะรีย์ มุฮัมมัด ญะรีร เฏาะบะรีย์ และยะฮ์ยา บิน ศออิด รายงานจากซะฮะบีย์ในหนังสือ ซิยัรอะอ์ลามุลนุบลาอ์ เชื่อว่า อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ ไม่ได้มีบุตรสักคนเลย [47] ซึ่งคาดว่า ทัศนะนี้ อาจเป็นเพราะความลับในการถือกำเนิดของอิมามคนที่ 12 และพวกเขาไม่ไดรับข้อมูลเกี่ยวกับการถือกำเนิดของเขา [48]

การเคลื่อนย้ายไปยังซามัรรออ์ : เมื่ออิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ยังอยู่ในวัยเด็ก อิมามฮาดี (อ.) บิดาของเขาถูกเรียกตัวไปยังอิรักและถูกควบคุมในเมืองซามัรรออ์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาซียะห์ในขณะนั้น ในการเดินทางครั้งนี้ อิมามอัสกะรีย์ (อ.) ร่วมเดินทางกับบิดาของเขาด้วย มัซอูดีกล่าวว่า เวลาของการเดินทางนี้ คือ ปี 236 ฮ.ศ.[49] และนูบัคตี กล่าวว่า ปี 233 ฮ.ศ.[50] อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในเมืองซามัรรออ์ และเป็นที่รู้จักกันว่า เขาเป็นอิมามเพียงคนเดียวที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจย์ แต่ทว่าในหนังสือ อุยูนอัคบารุรริฎอ อัยน และกัชฟุล ฆ็อมมะฮ์ มีริวายะฮ์ รายงานว่า ผู้รายงานได้ยินจากอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ ในเมืองมักกะฮ์ (51)

เหตุผลและระยะเวลาของการเป็นอิมามัต
ระยะเวลาของการเป็นอิมามัตของอิมามอัสกะรีย์ (อ) คือ เป็นเวลาเพียงหกปี (ตั้งแต่ปี 254 ถึง 260 ฮ.ศ.) เหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับอิมามัตของฮะซัน บิน อะลี อัสกะรีย์ (อ.) หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮาดี (อ.) คือ คำสั่งเสียและฮะดีษทั้งหลายของอิมามฮาดีย์ที่เกี่ยวกับผู้สืบทอดตำแหน่งหลังจากเขา [52] เชคมุฟีด เขียนในหนังสืออัลอิรชาด ว่า มีมากกว่า 10 ริวายะฮ์ และจดหมายที่กล่าวถึงเรื่องนี้ [53] บรรดาชีอะฮ์ส่วนใหญ่และสหายทั้งหลายของอิมามฮาดี (อ.) ได้เข้าไปหาอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ในฐานะอิมาม หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮาดี [54] แต่ทว่า มีจำนวนไม่กี่คน เชื่อว่า ญะอ์ฟัร บิน อะลี รู้จักว่า ญะอ์ฟัร อัลกัซซาบ บุตรชายอีกคนหนึ่งของอิมามฮาดี เป็นอิมามของพวกตน และบางคนเชื่อว่า ตำแหน่งอิมามัตเป็นของซัยยิด มุฮัมมัด ซึ่งเขาเสียชีวิตในสมัยของอิมามฮาดี (อ.) (55) บางคนที่สนับสนุนข้ออ้างในการเป็นอิมามัตของญะอ์ฟัร อัลกัซซาบ ได้สร้างปัญหากับอิมามัตของอิมามอัสกะรีย์ พวกเหล่านี้ไม่ได้มีสถานภาพทางวิชาการที่เหมาะสม บางครั้งอ้างว่า พวกเขาวัดความรู้ของอิมาม แต่ไม่พบความรู้ที่สมบูรณ์ที่จำเป็นสำหรับอิมาม (อ.)(56) บางครั้งพวกเขาก็อ้างว่า มีความผิดพลาดในข้อเขียนจดหมายของอิมาม(57)และบางเวลา พวกเขาก็ต่อต้านประเภทการสวมเสื้อผ้าของอิมาม [58] และบางครั้ง พวกเขาก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของอิมามและวิพากษ์วิจารณ์อิมาม เนื่องจากการกระทำของบรรดาตัวแทนของเขา [59] นอกจากนี้ บางครั้งพวกเขาก็ไม่ยอมรับคำสั่งของอิมามและตัวแทนของเขา 60] นี่คือเหตุผลนี้ ซึ่งอิมามอัสกะรีย์ (อ.) กล่าวว่า ไม่มีบรรพบุรุษของเขาคนใดถูกสงสัยโดยชีอะฮ์ มากเท่ากับเขา [61] อิมามถือว่า ความต่อเนื่องของพฤติกรรมดังกล่าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจนำไปสู่การปฏิเสธความโปรดปรานของพระเจ้า [62] มุดัรริซี เฏาะบาเฏาะบาอี เชื่อว่า บางทีความอกตัญญูและการปฏิเสธความโปรดปราน อาจทำให้สังคมชีอะฮ์ไม่ได้รับความโปรดปรานจากการปรากฏตัวของอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (63)

สถานการณ์ทางการเมือง
ช่วงเวลาการเป็นอิมามัตของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ตรงกับยุคสมัยของเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ทั้ง 3 คน กล่าวคือ มุอ์ตัซ อับบาซี (252-255 ฮ.ศ.), มะห์ตะดี (255-256 ฮ.ศ.) และมุอ์ตะมิด (256-279 ฮ.ศ.)

บางที จุดยืนทางการเมืองครั้งแรกที่ถูกบันทึกในการดำเนินชีวิตของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) อาจเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่อิมามอายุประมาณยี่สิบปีและบิดาของเขายังมีชีวิตอยู่ ในจดหมายถึงอับดุลลอฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน ฏอฮิร หนึ่งในผู้ปกครอง ผู้มีอิทธิพลในราชวงศ์อับบาซียะฮ์ ผู้ซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในศัตรูของมุสตะอีน (อัล-มุสตะอีน บิลละฮ์ อะห์มัด บิน มุฮัมมัด 862-866 ค.ศ.) เขาเรียกเคาะลีฟะฮ์ เป็นคนกบฏและการล่มสลายของเขา เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า (64)

หลังจากการถูกสังหารของมุสตะอีน มุอ์ตัซ ก็ขึ้นสู่อำนาจในช่วงเริ่มต้นการปกครองของเขา ไม่มีการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่ออิมามฮาดี (อ.) และอิมามอัสกะรีย์ (อ.) หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามฮาดี (อ.) มีหลักฐานยืนยันว่า แม้จะมีข้อจำกัดสำหรับการเคลื่อนไหวของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) แต่อิมามก็มีอิสระค่อนข้างมาก การพบปะของอิมามกับบรรดาชีอะฮ์ในช่วงเริ่มต้นของอิมามัตของเขา เป็นสิ่งยืนยันประเด็นนี้ แต่หลังจากผ่านไปหนึ่งปี เคาะลีฟะฮ์เริ่มสงสัยในตัวอิมามและสั่งให้จำคุกเขาในปี 255 ฮ.ศ. อิมามยังอยู่ในคุก ในช่วงหนึ่งปีของเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป (มุห์ตะดี 255-256 ฮ.ศ.)

ด้วยการเริ่มต้นของเคาะลีฟะฮ์ มุอ์ตะมิด ในปี 256 ฮ.ศ. เมื่อเขาเผชิญกับการลุกขึ้นต่อสู้ของชีอะฮ์ อิมามจึงได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกและเขาได้ให้ความสำคัญในการจัดระเบียบสังคมและการเงินของอิมามียะฮ์ ด้วยเหตุนี้เอง ในเดือนศอฟัร ปี 260 ฮ.ศ. มุอ์ตะมิด ได้สั่งให้จำคุกอิมาม และเคาะลีฟะฮ์ติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอิมามในทุกวัน (65) หนึ่งเดือนหลังจากนั้น อิมามก็ถูกปล่อยตัวออกจากคุก แต่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของผู้คุม ให้ไปยังบ้านของฮะซัน บิน ซะฮล์ วะซีรของมะอ์มูน ใกล้กับเมืองวาซิฏ (66)

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองมีความยากลำบากมากขึ้นสำหรับอิมามอัสกะรีย์ (อ.) และบรรดาชีอะฮ์ คือ ความเป็นที่รู้จักในการลุกขึ้นต่อสู้ของอิมามคนที่สิบสอง เชคมุฟีด กล่าวว่าช่วงเวลาของการเป็นอิมามัตของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก [67] เขาเชื่อว่าในนิกายอิมามียะฮ์ เป็นที่รู้จักในการรอคอยการปรากฏของอิมามมะฮ์ดี และเป็นเคาะลีฟะฮ์รู้ดีว่า บรรดาชีอะฮ์กำลังรอคอยเขาอยู่ จึงมีการค้นหาบุตรของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) และเขาได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอิมามคนนี้ ด้วยเหตุผลนี้เอง อิมามอัสกะรีย์ (อ.) จึงได้ซ่อนเร้นการถือกำเนิดของบุตรของเขาไว้ (68) เชค ฏูซีย์ เชื่อว่า อิมามอัสกะรีย์ (อ.) เนื่องจากสถานการณ์เช่นนี้ จึงได้ให้คำสั่งเสียและเศาะดาเกาะฮ์แก่ ฮุดัยษ์ มารดาของเขา (69)

การลุกขึ้นต่อสู้และการก่อจลาจล

ในยุคสมัยของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) มีการเคลื่อนไหวในการประท้วง ซึ่งบางส่วนโดยบรรดาชีอะฮ์ และบางส่วนใช้ชื่อว่า อะลาวี ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ผิด

การลุกขึ้นต่อสู้ของอะลี บิน ซัยด์ และอีซา บิน ญะอ์ฟัร: สองคนนี้ซึ่งเป็นอะลาวีและสืบเชื้อสายมาจากอิมามฮะซัน มุจญ์ตาบา (อ.) ได้ลุกขึ้นต่อสู้ในเมืองกูฟะฮ์ในปี 255 ฮ.ศ. มุอ์ตัซจึงส่งกองทัพภายใต้การบังคับบัญชาของซะอีด บิน ศอลิห์ ไปยังพวกเขาและปราบปรามการลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้ (70)

การลุกขึ้นต่อสู้ของอะลี บิน ซัยด์ บิน ฮุเซน: เขาเป็นลูกหลานของอิมามฮุเซน (อ.) และเขาได้ลุกขึ้นต่อสู้ในเมืองกูฟะฮ์ ในสมัยของมุฮ์ตะดี อับบาซี ชาฮ์ บิน มีกาล ยกทัพเข้าต่อสู้กับเขา แต่ก็พ่ายแพ้ เมื่อมุอ์ตะมิด อับบาซี ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้ส่งกีญูร ตุรกี ไปยังอะลี บิน ซัยด์ หลังจากที่ถูกไล่ล่าอย่างยาวนาน อะลี บินซัยด์ ก็ถูกสังหารในปี 257 ฮ.ศ. (71)

การลุกขึ้นต่อสู้ของอะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮ์ : เขาได้ลุกขึ้นต่อสู้ในช่วงเวลาของมุอ์ตะมิด อับบาซี ในอียิปต์ ระหว่างบัรเกาะฮ์และอเล็กซานเดรีย และเขาอ้างว่า เป็นเคาะลีฟะฮ์ พร้อมทั้งเขาพบว่า มีผู้ติดตามจำนวนมาก อะห์มัด บิน ฏูลูน ผู้ปกครองเมืองอียิปต์ ได้ส่งกองทัพไปยังเขา และทำให้บรรดาสหายของเขาก็กระจัดกระจายจากเขาและทำการสังหารเขา (72)

การลุกขึ้นต่อสู้ของ ศอฮิบ ซันญ์ พวกซันญ์ โดยการนำของอะลี บิน มุฮัมมัด หรือที่รู้จักในชื่อ ศอฮิบ ซันญ์ ได้ลุกขึ้นต่อต้านเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 255 (73) การลุกขึ้นต่อสู้ครั้งนี้กินเวลาสิบห้าปีและยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ [74] อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ไม่ได้ถือว่า ศอฮิบ ซันญ์ เป็นอะฮ์ลุลบัยต์ [75]

ความสัมพันธ์ระหว่างอิมามและชีอะฮ์
เนื่องจากแรงกดดันของพวกอับบาซียะฮ์ที่มีต่อบรรดาชีอะฮ์ ชุมชนชีอะฮ์จึงใช้ชีวิตแบบตะกียะฮ์ อย่างไรก็ตาม อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ได้ให้ความสำคัญในการจัดการกิจการของชีอะฮ์และรวบรวมทรัพย์ทางศาสนา และเขาได้ส่งบรรดาตัวแทนไปยังดินแดนต่างๆ (76)

การพบปะกับอิมาม

จากรายงานทางประวัติศาสตร์ บันทึกว่า ในบางส่วนของการดำเนินชีวิตของอิมามอัสกะรีย์ มีข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารโดยตรงของบรรดชีอะฮ์กับอิมาม[77]

ดังนั้น เมื่ออิมามถูกนำตัวไปที่ดารุลคิลาฟะฮ์ บรรดาชีอะฮ์จะเดินทางมาพบปะกับเขา [78] เชคฎูซี รายงานว่า มีการรวมตัวกันของประชาชน เวลาที่อิมามอัสกะรีย์ (อ) เดินผ่านไปและพวกเขาแสดงความเคารพแก่เขา [79] แต่เนื่องจากความระมัดระวังของระบอบการปกครอง บางครั้งอิมาม (อ.) จึงห้ามไม่ให้บรรดาชีอะฮ์มีความสัมพันธ์แบบนี้กับเขา อะลี บิน ญะอ์ฟัร ฮะลาบี รายงานว่า : ในวันหนึ่ง จะมีการนำตัวอิมามไปที่ดารุลคิลาฟะฮ์ เราจึงออกมารวมตัวกัน เพื่อรอที่จะพบปะกับเขา ในเวลาเดียวกันนั้น จดหมาย เขียนมาถึงเรา จากอิมาม (อ.)โดยมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้: อย่าได้มีผู้ใดให้สลามหรือแม้แต่ชี้มายังฉันเพราะว่า พวกท่านจะไม่ปลอดภัย (80)

บรรดาตัวแทนของอิมาม

เช่นเดียวกับบรรดาอิมามก่อนหน้านี้ อิมามอัสกะรีย์ (อ.) ใช้ตัวแทนในการติดต่อสื่อสารกับบรรดาชีอะฮ์ ในแหล่งข้อมูลของอิมามียะฮ์ รายงานว่า อุษมาน บิน ซะอีด เป็นที่รู้จักในนาม บาบ (ตัวแทนและผู้ประสานงานของอิมามกับประชาชน) หลังจากการเป็นชะฮีดของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) เขาเป็นตัวแทนพิเศษคนแรกของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ในยุคฆ็อยบะฮ์ กุบรอ [81] นอกจากนี้ อะกีด เป็นผู้รับใช้พิเศษของเขา ซึ่งอิมามได้เลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้นำพาจดหมายของอิมามไปยังบรรดาชีอะฮ์ [82] บุคคลที่มีฉายานามว่า อบุลอัดยาน คือ คนรับใช้ของเขา ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งจดหมายหลายฉบับอีกด้วย (83)

การเขียนจดหมาย

การเขียนจดหมาย เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารอีกวิธีหนึ่งระหว่างชีอะฮ์และอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ตัวอย่างเช่น เราสามารถอ้างถึงจดหมายของเขาถึงอะลี บิน ฮุเซน บิน บาบะวัยฮ์ [84] และจดหมายถึงชาวเมืองกุมและออเบฮ์(ออเวฮ์) [85] มีการกล่าวถึงในหนังสือของกะมาลุดดีน ระบุว่า ไม่นานนักก่อนการเป็นชะฮีด อิมามได้เขียนจดหมายหลายฉบับสำหรับเมืองมะดีนะฮ์ ด้วยมือของเขาเอง [86] บรรดาชีอะฮ์ยังเขียนจดหมายถึงเขาในปัญหาและประเด็นต่างๆ และได้รับคำตอบของพวกเขาอีกด้วย

การเตรียมความพร้อมของบรรดาชีอะฮ์สำหรับยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์

บางแหล่งข้อมูล ที่ได้วิเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) เชื่อว่า เขาได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของชีอะฮ์ให้เข้าสู่ยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์ : อิมามอัสกะรีย์ (อ) ได้พูดคุยกับบรรดาสหายของเขาจากหลังม่านกั้นและส่วนใหญ่ของการเคลื่อนไหวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอิมาม จะดำเนินการโดยผ่านบรรดาตัวแทนของเขา หนึ่งในนั้นคือการดำเนินการดังกล่าว [87] มุดัรริซี เฏาะบาเฏาะบาอี เชื่อว่า อิมามอัสกะรีย์สำหรับการสอนวิธีแก้ปัญหาทางวิชาการ บางครั้งไม่ได้อธิบายคำตอบของคำถามทางนิติศาสตร์อย่างสมบูรณ์ [88] และบางครั้ง เขาก็อธิบายกฎทั่วไปเพื่อให้บรรดานักนิติศาสตร์สามารถเข้าถึงคำตอบได้ด้วยความช่วยเหลือของเขา [89] [หมายเหตุ 2] บางครั้งอิมามได้แนะนำให้ย้อนกลับไปยังหนังสือฮะดีษของชีอะฮ์ สำหรับคำตอบของคำถามทางด้านนิติศาสตร์ (90) การดำเนินการรูปแบบนี้ ชุมชนชีอะฮ์ ได้รับการสอนให้แก้ไขปัญหาต่างและประเด็นทางนิติศาสตร์โดยไม่ต้องย้อนกลับไปยังอิมามที่ดำรงอยู่ (91)

การอธิบายคำสอนทางศาสนา
คำสอนของชีอะฮ์

เมื่อพิจารณาถึงความซับซ้อนและความคลุมเครือที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอิมามในยุคสมัยนั้น ในถ้อยคำและจดหมายของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) เราพบคำสอนที่ว่า แผ่นดินจะไม่คงอยู่โดยปราศจากข้อพิสูจน์ [92] และถ้าหากอิมามต้องเผชิญกับการหยุดชะงักและการเชื่อมโยงถูกบิดเบือน กิจการของพระเจ้าก็จะหยุดชะงัก [93] และข้อพิสูจน์ของพระองค์ในแผ่นดิน ถือเป็นความโปรดปรานที่พระเจ้าทรงประทานแก่บรรดาผู้ศรัทธาและได้ให้เกียรติแก่พวกเขาด้วยการชี้นำนี้ (94)

คำสอนอีกประการหนึ่งที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกในถ้อยคำของอิมาม อันเนื่องมาจากแรงกดดันต่อบรรดาชีอะฮ์ในยุคนั้น คือ การเชิญชวนให้มีความอดทนและความเชื่อในการบรรเทาทุกข์และการรอคอย (95) นอกเหนือจากนี้ ในฮะดีษต่างๆ เห็นได้ว่า มีการเน้นย้ำเป็นพิเศษในการจัดการความสัมพันธ์ภายในของชุมชนชีอะฮ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับพี่น้องร่วมศาสนาด้วยเช่นกัน (96)

การอรรถาธิบายอัลกุรอาน

การอรรถาธิบายอัลกุรอาน เป็นหนึ่งในหลายกรณีที่อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ให้ความสนใจเป็นพิเศษ หนังสือตัฟซีรของอิมาม ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่เก่าแก่ที่สุดของมรดกทางด้านตัฟซีรของอิมามียะฮ์

การสอนศอละวาตแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาผู้สืบทอดของเขา

เชคฏูซี เขียนในหนังสือมิศบาห์อัลมุตะฮัจญิด เกี่ยวกับการกระทำอะมั้ลประจำวันศุกร์ รายงานจากอบุล มุฟัฎฎ็อล ชัยบานี จากอบู มุฮัมมัด อับดุลลอฮ์ บิน มุฮัมมัด อาบิด บะดาลียะฮ์ กล่าวว่า เขาได้ขอร้องต่ออิมามฮะซัน อัสกะรีย์(อ. ในบ้านของเขา ณ ซามัรรออ์ เพื่อสอนเขาถึงวิธีการกล่าวศอละวาตแก่ศาสดามุฮัมมัดและบรรดาผู้สืบทอดของเขา ซึ่งเขาได้เตรียมกระดาษไว้อย่างมากมาย และอิมามอัสกะรีย์ ได้กล่าวศอละวาตแก่ผู้บริสุทธิ์ทั้งสิบสี่คนโดยไม่ได้ดูหนังสือสักเล่ม อะบูมุฮัมมัด ยะมะนี ผู้รายงานริวายะฮ์นี้ กล่าวว่า หลังจากที่อิมามอัสกะรีย์กล่าวศอละวาตแก่บิดาของเขาเสร็จสิ้น เมื่อถึงชื่อของเขา เขาได้หยุดนิ่ง และฉันได้บอกกับเขาว่า ขอให้ท่านบอกถึงวิธีการศอละวาตที่เหลือต่อไป อิมามกล่าวว่า หากมิใช่ศาสนาที่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งได้ทรงบัญชาให้เรากระทำและมอบให้กับกลุ่มชนของพระองค์ ฉันก็จะละเว้นมัน แต่ทว่า จงเขียนมัน เพราะว่าเป็นศาสนา หลังจากนั้น อิมามก็เขียนวิธีการศอละวาตของตนเอง ดังนี้


اللّٰهُمَّ صَلِّ عَلَى الْحَسَنِ بْنِ عَلِيِّ بْنِ مُحَمَّدٍ الْبَرِّ التَّقِيِّ، الصَّادِقِ الْوَفِيِّ، النُّورِ الْمُضِيءِ، خازِنِ عِلْمِكَ، وَالْمُذَكِّرِ بِتَوْحِيدِكَ، وَوَلِيِّ أَمْرِكَ، وَخَلَفِ أَئِمَّةِ الدِّينِ الْهُداةِ الرَّاشِدِينَ، وَالْحُجَّةِ عَلَىٰ أَهْلِ الدُّنْيا، فَصَلِّ عَلَيْهِ يَا رَبِّ أَفْضَلَ مَا صَلَّيْتَ عَلَىٰ أَحَدٍ مِنْ أَصْفِيائِكَ وَحُجَجِكَ وَأَوْلادِ رُسُلِكَ يَا إِلٰهَ الْعالَمِينَ

โอ้อัลลอฮ์ โปรดทรงอำนวยพรแด่ฮะซัน บิน อะลี บิน มุฮัมมัด ผู้กระทำความดีและมีความยำเกรง ผู้สัตย์จริงและรักษาคำมั่นสัญญา รัศมีที่เจิดจรัส คลังแห่งความรู้ของพระองค์ ผู้รำลึกถึงเอกานุภาพของพระองค์ และผู้บริหารการงานของพระองค์ และผู้อยู่หลังจากบรรดาอิมาม ผู้ชี้นำทางที่ถูกต้อง และข้อพิสูจน์เหนือชาวโลก ดังนั้น โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ จงอำนวยพรแด่เขาให้มากกว่า สิ่งที่พระองค์ทรงอำนวยพรต่อบรรดาผู้เลือกสรร ข้อพิสูจน์ และลูกหลานของบรรดาศาสนทูตของพระองค์ โอ้พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลกทั้งหลาย (98)

เทววิทยาและหลักศรัทธา

อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ได้รับตำแหน่งอิมามัต ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันทางด้านหลักศรัทธาในหมู่อิมามียะฮ์ และความแตกต่างก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับยุคสมัยการเป็นอิมามัตของเขา ตัวอย่างเช่น หนึ่งในประเด็นเหล่านี้ คือ การอภิปรายเรื่อง การปฏิเสธสภาพร่างกายของพระเจ้า ซึ่งมีการพูดคุยกันมานานหลายปี ในสมัยของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ความแตกต่างนี้ได้เพิ่มขึ้นมาก จนซะฮ์ล บิน ซิยาด อัดมี ได้เขียนจดหมายถึงอิมามและขอคำแนะนำจากเขาในเรื่องนี้ เพื่อเป็นคำตอบ อิมามจึงละเว้นจากการเจาะลึกถึงประเด็นอาตมัน แล้วเขาได้ชี้ถึงโองการต่างๆ จากอัลกุรอาน โดยกล่าวว่า

พระเจ้าทรงหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ พระองค์ไม่ได้ถือกำเนิดหรือถูกกำเนิดและไม่มีผู้ใดเท่าเทียมพระองค์ พระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ไม่ใช่สิ่งถูกสร้าง พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ต้องการจากร่างกายและสิ่งอื่นๆ และพระองค์ไม่มีร่างกาย... ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ทรงได้ยินและมองเห็น[99]

นิติศาสตร์ ในศาสตร์ของฮะดีษ สมญานามหนึ่งที่ใช้เรียกอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) คือ ฟะกีฮ์ [100] นี่แสดงให้เห็นว่า อิมามเป็นที่รู้จักในหมู่สหายของเขาในลักษณะนี้โดยเฉพาะ บางส่วนของฮะดีษของเขาเกี่ยวกับนิติศาสตร์และบทต่างๆที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีการรวบรวมหลักนิติศาสตร์อิมามียะฮ์โดยอิมามศอดิก (อ.) และหลังจากนั้นได้ผ่านขั้นตอนแห่งความสมบูรณ์แบบในช่วงเวลาของอิมามกาซิม (อ.) และอิมามริฎอ (อ.) อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) จึงจัดการกับหลักปลีกย่อยไดมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ในยุคสมัยของเขา หรือเป็นเรื่องท้าทายในยุคสมัยของเขา ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น ประเด็นการเริ่มต้นเดือนรอมฎอน และการอภิปรายเรื่องคุมส์ (101)

ฮะรอม
หลังจากการเป็นชะฮีด ร่างของอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ถูกนำมาฝังไว้ข้างอิมามฮาดี (อ.) บิดาของเขา ( 102) หลังจากนั้น สถานที่แห่งนี้ได้เป็นสถานที่ซิยาเราะฮ์ ซึ่งรู้จักในชื่อว่า ฮะรอม อัสกะรียัยน์

ฮะรอมอัสกะรียัยน์ ถูกทำลายโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายตักฟีรีในปี 1384 สุริยคติอิหร่าน (103) และ 1386 สุริยคติอิหร่าน การทำลายฮะรอมอัสกะรียัยน์ ชี้ถึงเหตุการณ์เหล่านี้ การบูรณะฮะรอมเริ่มขึ้นในปี 1389 สุริยคติอิหร่าน [106] และสิ้นสุดในปี 1394 สุริยคติอิหร่าน [107]

บรรณานุกรม
มีการเขียนหนังสืออย่างมากมายและจัดพิมพ์เกี่ยวกับอิมามคนที่ 11 ในภาษาต่างๆ เช่น ภาษาเปอร์เซีย อาหรับ อังกฤษ อูรดู และสเปน [108] ในบางเว็บไซต์ มีรายการและรวบรวมหนังสือ บทความ และวิทยานิพนธ์มากกว่า 250 เล่ม (109] หนังสือเหล่านี้บางเล่มประกอบด้วย:

สารานุกรมอิมามอัสกะรีย์ (อ.) กล่าวกันว่า ในสารานุกรมทั้งหกเล่มนี้ โดยเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) ถูกรวบรวม และหนังสือเหล่านี้ประกอบด้วยถ้อยคำทั้งหมดของอิมามและทัศนะของผู้อื่นที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพของอิมาม (110] หนังสือเล่มนี้ ถือเป็นหนังสือที่ครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับอิมามคนที่ 11 [111]

สารานุกรมถ้อยคำของอิมามฮะซัน อัสกะรีย์ (อ.) เป็นผลงานของกลุ่มนักเขียนที่สถาบันวิจัยบากิร อัล-อุลูม (อ.) ซึ่งได้รวบรวมถ้อยคำของอิมามไว้ใน 4 ภาค เกี่ยวกับหลักศรัทธา หลักปฏิบัติ จริยธรรม บทดุอาอ์และบทซิยาเราะฮ์ หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาฟาร์ซีโดย ญะวาอ มุฮัดดิษี โดยมีชื่อว่า ฟัรฮัง ญอมิอ์ ซุคานอน อิมามฮะซัน อัสกะรีย์ [111]

ชุกุเฮ ซามัรรออ์ (ความรุ่งเรืองของซามัรรออ์) คือ ชุดบทความเกี่ยวกับอิมามฮาดี (อ.) และอิมามอัสกะรีย์ (อ.) ซึ่งเขียนโดยกลุ่มนักเขียน จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยอิมามศอดิก (อ.) ในปี 1390 สุริยคติอิหร่าน [112]

คำกล่าวบางส่วน
ความงดงามของใบหน้า คือความงามที่ชัดเจนและเปิดเผย และความคิดที่สวยงาม คือความงดงามที่ซ่อนอยู่ภายใน (113)

บุคคลที่มีความยำเกรง เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของเขา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของเขา และความอดทนเป็นสหายของเขา มิตรสหายและการสรรเสริญของเขาจะเพิ่มขึ้น และเขาจะแก้แค้นศัตรูของเขาด้วยคำสรรเสริญนี้ [114]

ความโกรธ เป็นกุญแจสำคัญของความชั่วร้ายและความน่ารังเกลียดทั้งหมด [115]

ประชาชนที่ดีที่สุด ณ พระเจ้า คือ บุคคลที่คุ้นเคยกับสิทธิของพี่น้องของเขามากกว่า และขยันมั่นเพียรมากขึ้นในการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านั้น และเป็นบุคคลที่ถ่อมตัวต่อพี่น้องของเขาในโลกนี้ เขาถือว่า เป็นหนึ่งในศิดดีกีน และเป็นชีอะห์ที่แท้จริงคนหนึ่งของอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) [116]

มนุษย์ที่มีสองหน้าและสองลิ้น เป็นบ่าวที่ไม่ดี เขายกย่องพี่น้องของเขาต่อหน้า และกินเนื้อของพวกเขาข้างหลัง (ด้วยการนินทา) ถ้าได้รับความโปรดปราน เขาก็จะอิจฉาและถ้ามีอุปสรรค เขาจะทรยศ [117]

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม