เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการที่ 100 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการที่ 100 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์


การอพยพในอิสลาม


وَ مَن يهَاجِرْ فى سبِيلِ اللَّهِ يجِدْ فى الاَرْضِ مُرَغَماً كَثِيراً وَ سعَةً وَ مَن يخْرُجْ مِن بَيْتِهِ مُهَاجِراً إِلى اللَّهِ وَ رَسولِهِ ثُمَّ يُدْرِكْهُ المَْوْت فَقَدْ وَقَعَ أَجْرُهُ عَلى اللَّهِ وَ كانَ اللَّهُ غَفُوراً رَّحِيماً (100)

ความหมาย

๑๐๐. และผู้ใดอพยพในทางของอัลลอฮฺ เขาจะพบสถานที่ปลอดภัยอันกว้างไพศาล และความไพบูลย์ และผู้ใดออกจากเคหะของเขาในฐานะผู้อพยพไปยังอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ แล้วความตายได้มาถึงเขา แน่นอน รางวัลของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

คำอธิบาย การอพยพเป็นบัญชาสร้างสรรค์อิสลาม

โองการก่อนหน้านี้กล่าวถึงกลุ่มชนที่อพยพเพื่อหลีกเลี่ยงความตาย และการทดสอบต่าง ๆ แต่โองการนี้กล่าวถึงความสำคัญของการอพยพว่าเป็นสิ่งจำเป็น

คำว่า มะรอฆิม มาจากคำว่า เราะฆอม หมายถึง แผ่นดิน อัรฆอมะ หมายถึง การนำเอาดินมาทาทูตัว หรือการทำให้ตกต่ำ ซึ่งจุดประสงค์ของโองการคำนี้เป็น อิซมิมะกาน หมายถึงสถานที่ซึ่งปฏิบัติ นำสัจธรรมมาปฏิบัติ ดังนั้น ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนสัจธรรมเพราะความดื้อรั้น สามารถลงโทษเขาหรือตีให้หน้าค่ำลงกับพื้น

คำว่า มุฮาญิรอน หรืออพยพจะถือว่าประสบความสำเร็จต่อเมื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง และได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ แม้ว่าจะเสี่ยงหรือเสียชีวิตก็ตาม ซึ่งรางวัลของเขาอยู่ ณ พระเจ้า

อิสลามกับการอพยพ

อัล-กุรอาน หลายโองการมีคำสั่งให้อพยพ ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยหรือบีบบังคับจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ จำเป็นต้องอพยพไปยังที่อื่น เนื่องจากแผ่นดินของพระเจ้ากว้างไพศาล ดังนั้น คำสั่งของอัล-กุรอานจึงเป็นที่ประจักษ์ เพราะอิสลามมิได้ขึ้นอยู่กับอยู่กับสถานที่ และเขตแดนที่เฉพาะเจาะจง

การอพยพครั้งแรกของศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ของอิสลาม เนื่องจากการอพยพของท่านครอบคลุมเหตุการณ์ด้านการเมือง การเผยแผ่ และสังคม การอพยพมิได้เฉพาะอยู่แค่สมัยของท่านศาสดา แต่สามารถกระทำได้ทุกยุคทุกสมัยและทุกสถานที่ ดังนั้น ถ้าบุคคลใดตกอยู่ในสภาพดังกล่าวจำเป็นต้องอพยพ

หลังจากนั้นโองการกล่าวถึงการอพยพ ซึ่งมีผลกับจิตใจและโลกหน้าโองการกล่าวว่า และผู้ใดออกจากเคหะของเขาในฐานะผู้อพยพไปยังอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์ ก่อนที่จะถึงยังจุดหมายปลายทาง ความตายได้มาถึงเขา แน่นอน รางวัลของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ ดังนั้น การเดินทางทั้งสองลักษณะถือว่าประสบความสำเร็จ

สิ่งที่สมควรพิจารณาคือ การอพยพในอิสลามมิใช่การอพยพจากสถานหนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง ทว่าการอพยพต้องออกมาจากจิตด้านใน การอพยพของจิตวิญญาณหมายถึง การออกห่างจากความมืดมิดไปสู่ความสว่างไสว หรือออกจากการปฏิเสธไปสู่การมีศรัทธามั่นต่อพระเจ้า หรือการหลีกเลี่ยงจากบาปกรรมไปสู่การเชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้า

อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บางคนกล่าวว่าพวกเราได้อพยพ ขณะที่เขามิใช่ผู้อพยพที่แท้จริง ผู้อพยพที่แท้จริงหมายถึงผู้ที่หลีกหนีความผิด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับมัน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม