เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการที่ 102 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการที่ 102 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ 

 

นมาซเคาฟ์ (กลัวศัตรู) ในภาวะสงคราม


وَ إِذَا كُنت فِيهِمْ فَأَقَمْت لَهُمُ الصلَوةَ فَلْتَقُمْ طائفَةٌ مِّنهُم مَّعَك وَ لْيَأْخُذُوا أَسلِحَتهُمْ فَإِذَا سجَدُوا فَلْيَكُونُوا مِن وَرَائكمْ وَ لْتَأْتِ طائفَةٌ أُخْرَى لَمْ يُصلُّوا فَلْيُصلُّوا مَعَك وَ لْيَأْخُذُوا حِذْرَهُمْ وَ أَسلِحَتهُمْ وَدَّ الَّذِينَ كَفَرُوا لَوْ تَغْفُلُونَ عَنْ أَسلِحَتِكُمْ وَ أَمْتِعَتِكمْ فَيَمِيلُونَ عَلَيْكُم مَّيْلَةً وَحِدَةً وَ لا جُنَاحَ عَلَيْكمْ إِن كانَ بِكُمْ أَذًى مِّن مَّطرٍ أَوْ كُنتُم مَّرْضى أَن تَضعُوا أَسلِحَتَكُمْ وَ خُذُوا حِذْرَكُمْ إِنَّ اللَّهَ أَعَدَّ لِلْكَفِرِينَ عَذَاباً مُّهِيناً (102)

ความหมาย

๑๐๒. และเมื่อเจ้าอยู่กับพวกเขา เจ้า (ขณะอยู่ในสนามรบ) นำนมาซพวกเขา ดังนั้น จงให้กลุ่มหนึ่งยืน (นมาซ) ร่วมกับเจ้า และให้พวกเขาถืออาวุธของพวกเขาไว้ ครั้นเมื่อพวกเขาซัจญ์ดะฮฺ (ลงกราบเป็นอันว่าเสร็จสิ้นนมาซ) จงให้พวกเขาถอย ไปอยู่เบื้องหลังสูเจ้า (ประชิดข้าศึก) และให้อีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้นมาซ (กำลังต่อสู้กับข้าศึก) เข้ามา และนมาซร่วมกับเจ้า และให้พวกเขาถือโล่ป้องกันของเขา และอาวุธของพวกเขา (ขณะนมาซ) เนื่องจากผู้ปฏิเสธหวังว่าสูเจ้าจะละเลยอาวุธของสูเจ้า และสัมภาระของสูเจ้า พวกเขาจะจู่โจมสูเจ้าอย่างรวดเร็ว และไม่มีความผิดสำหรับสูเจ้า ถ้าสูเจ้าจะวางอาวุธหากสูเจ้าลำบากเพราะฝนตกหรือสูเจ้าป่วย (บาดเจ็บ) แต่จงถือโล่ป้องกันตัว แท้จริง อัลลอฮฺทรงเตรียมการลงโทษอันอัปยศไว้สำหรับพวกปฏิเสธ
สาเหตุแห่งการประทานลงมา

เมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และมุสลิมกลุ่มหนึ่งตัดสินใจไปมักกะฮฺ เมื่อเดินทางมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งชื่อว่า ฮุดัยบียะฮฺ ข่าวได้ไปถึงหูกุเรช คอลิด บุตรของวะลีดเป็นหัวหน้านำคนจำนวน 200 คน ออกมาเพื่อขัดขวางมิให้ท่านศาสดาและบรรดามุสลิมเดินทางเข้ามักกะฮฺ พวกเขาได้หลบซ่อนตัวอยู่ตามเทือกเขา เมื่อบิลาลอะซานประกาศเวลานมาซซุฮรฺ ท่านศาสดาและมุสลิมได้นมาซร่วมกัน เมื่อคอลิดเห็นเช่นนั้นเขาได้คิดเลยเถิดไปและพูดกับตัวเองว่า เมื่อพวกเขาลงมือนมาซอัซรฺเราจะจัดการทันที่ แต่ขณะนั้นมุสลิมได้นมาซรวดเดียวจบ และโองการได้ประทานลงมาเพื่อสอนนมาซเคาฟ์ (นมาซขณะที่หวาดกลัว) แก่มุสลิม ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นความอัศจรรย์ของอัล-กุรอาน ก่อนที่ศัตรูจะโจมตี และเป็นการทำลายแผนการของศัตรู

คำอธิบาย

โองการนี้กล่าวถึงวิธีนมาซเคาฟ์ ซึ่งต้องปฏิบัติขณะอยู่ระหว่างการสู้รบ เป็นการแสดงให้เห็นว่าอิสลามให้ความสำคัญต่อนมาซอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีคำสั่งให้นมาซไม่ว่าจะอยู่บนเงื่อนไขใดก็ตาม แม้แต่ในสภาพที่ลำบากและอันตรายก็ต้องนมาซ ๆ เป็นคำสั่งเดียวที่ต้องปฏิบัติโดยไม่มีการจำกัดเวลาและสถานที่ และไม่มีการละเว้นแม้ว่าจะอยู่ในภาวะสงคราม เพียงแต่ว่าในภาวะสงครามสามารถลดจำนวนเราะกะอัตของนมาซให้น้อยลงได้ เรียกว่า นมาซเคาฟ์ ซึ่งนมาซนี้มีเพียง 2 เราะกะอัต โองการกล่าวว่า และเมื่อเจ้าอยู่กับพวกเขา เจ้า (ขณะอยู่ในสนามรบ) นำนมาซพวกเขา ดังนั้น จงให้กลุ่มหนึ่งยืน (นมาซ) ร่วมกับเจ้า และให้พวกเขาถืออาวุธของพวกเขาไว้

เมื่อกลุ่มแรกนมาซซัจญ์ดะฮฺ หมายถึงเมื่อนมาซเราะกะอัตเสร็จ เจ้าได้หยุดในที่ของเจ้า และให้พวกเขารีบนมาซเราะกะอัตที่สองให้เสร็จ หลังจากนั้นให้ไปแทนที่เหล่าทหารที่เผชิญหน้ากับศัตรู และให้ทหารกลุ่มที่สองนมาซแทนที่ทหารกลุ่มแรกพร้อมกับเจ้า โองการกล่าวว่า ครั้นเมื่อพวกเขาซัจญ์ดะฮฺ (ลงกราบเป็นอันว่าเสร็จสิ้นนมาซ) จงให้พวกเขาถอย ไปอยู่เบื้องหลังสูเจ้า (ประชิดข้าศึก) และให้อีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้นมาซ (กำลังต่อสู้กับข้าศึก) เข้ามา และนมาซร่วมกับเจ้า และให้พวกเขาถือโล่ป้องกันของเขา และอาวุธของพวกเขา (ขณะนมาซ) ดังนั้น จะเห็นว่าทหารทั้งสองกลุ่มได้นมาซญะมาอัตร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

การที่โองการมีคำสั่งให้นมาซเช่นนี้เพื่อมิให้เหล่าทหารวางใจศัตรู เนื่องจากศัตรูจ้องหยิบฉวยโอกาส และหวังว่าสูเจ้าจะวางอาวุธชั่วขณะเพื่อพวกเขาจะได้โจมตีเจ้าอย่างรวดเร็ว โองการกล่าวว่า เนื่องจากผู้ปฏิเสธหวังว่าสูเจ้าจะละเลยอาวุธของสูเจ้า และสัมภาระของสูเจ้า พวกเขาจะจู่โจมสูเจ้าอย่างรวดเร็ว

แต่ถ้ามีความจำเป็นเกิดขึ้น เช่น ฝนตก ป่วย หรือได้รับบาดเจ็บ อันเป็นสาเหตุทำให้สูเจ้าไม่สามารถถืออาวุธและโล่ป้องกันในเวลาเดียวกันได้ ดังนั้น สูเจ้าสามารถวางอาวุธได้ แต่ไม่สมควรวางโล่ป้องกันตัวแม้ว่าอยู่ในภาวะคับขันและลำบากสูเจ้าก็ต้องถือโล่ป้องกันตัวเอาไว้ เพราะถ้าศัตรูเข้าจู่โจมโดยฉับพลันสูเจ้าจะได้ป้องกันตัวเองได้ ฉะนั้น ถ้าสูเจ้าปฏิบัติเช่นนี้สูเจ้าจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน เนื่องจากพระเจ้าทรงเตรียมการลงโทษอันอัปยศไว้สำหรับผู้ปฏิเสธ

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม