เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการที่ 105,106 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการที่ 105,106 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

 

การสร้างสถานการณ์ใส่ร้ายคนอื่น

إِنَّا أَنزَلْنَا إِلَيْك الْكِتَب بِالْحَقِّ لِتَحْكُمَ بَينَ النَّاسِ بمَا أَرَاك اللَّهُ وَ لا تَكُن لِّلْخَائنِينَ خَصِيماً (105) وَ استَغْفِرِ اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ كانَ غَفُوراً رَّحِيماً(106)

 

ความหมาย

 

๑๐๕. แท้จริง เราได้ประทานคัมภีร์แห่งสัจธรรมแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้พิพากษาระหว่างมนุษย์ตามที่อัลลอฮฺได้ทรงสอนเจ้า และจงอย่าเป็นผู้แก้ต่างให้แก่พวกทรยศทั้งหลาย

 

๑๐๖. และจงขอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

 

สาเหตุแห่งการประทานลงมา

 

อาหรับเผ่า บนีอบีร็อก เป็นเผ่าที่มีชื่อเสียง ซึ่งพวกเขามีพี่น้องนามว่า บะชัร บะชีร และมุบัรชีร บะชีรได้แอบไปที่บ้านของมุสลิมคนหนึ่งนามว่า ริฟาอะฮฺ เขาได้ขโมยดาบ เสื้อเกราะ และอาหารบางส่วนไป บุตรชายของน้องชายเขาซึ่งเป็นนักรบแห่งสงครามบัรด์ ชื่อว่า เกาะตาดะฮฺ นำเหตุการณ์นี้ไปรายงานแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เมื่อพี่น้องของขโมยทราบข่าว ได้รวมตัวกันไปหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพื่อบิดเบือนความจริง และใส่ร้ายเกาะตาดะฮฺอย่างไม่เป็นธรรม ท่านศาสดา ทำการตัดสินไปตามความจริงภายนอก ท่านจึงยอมรับการสาบานของประชาชนที่มา และได้ตำหนิเกาะตาดะฮฺ แต่เนื่องจากเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ เขาจึงโกรธมากและได้กลับมาหาลุงของเขา เล่าเหตุการณ์ให้ฟังด้วยความช้ำใจ ลุงของเขาปลอบใจว่าไม่ต้องเสียใจพระเจ้าทรงอยู่กับเรา อัล-กุรอานโองการนี้และโองการถัดไปจึงประทานลงมาเพื่อปลอบใจผู้บริสุทธิ์ และประณามผู้กระทำความผิด

 

คำอธิบาย อย่าปกป้องผู้ทรยศ

 

โองการนี้อันดับแรก แนะนำท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าเป้าหมายที่ประทานคัมภีร์ลงมาเพื่อให้ดำรงความยุติธรรม และพิพากษาประชาชนด้วยความเที่ยงธรรม โองการกล่าวว่า เราได้ประทานคัมภีร์แห่งสัจธรรมแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้พิพากษาระหว่างมนุษย์ตามที่อัลลอฮฺได้ทรงสอนเจ้า

 

หลังจากนั้นพระเจ้าทรงเตือนท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า อย่าปกป้องผู้ทรยศ แม้ว่าโองการจะกล่าวแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แต่บัญญัติดังกล่าวครอบคลุมเหนือการตัดสินทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ เป็นไปไม่ได้ที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) จะกระทำเช่นนั้น เนื่องจากกฎดังกล่าวเป็นสากลเป็นของผู้ตัดสินทั่วไป

 

โองการถัดไปได้สั่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ให้ขอลุแก่โทษต่อพระเจ้า เนื่องจากพระเจ้าเป็นผู้ทรงอภัย และเมตตาเสมอ

 

การขอลุแก่โทษในโองการหมายถึงอะไร

 

อันดับแรก การลุแก่โทษ เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า เพราะรีบร้อนตัดสินตามที่กล่าวในสาเหตุแห่งการประทานโองการ แม้ว่าคู่กรณีจะมีพยานมายืนยัน ซึ่งเพียงพอต่อการพิพากษาก็ตาม แต่ดีกว่าหากเจ้าจะสืบสวนพยานหลักฐานให้ละเอียดกว่านั้น

 

อีกประเด็นหนึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้พิพากษาไปตามกฎเกณฑ์การพิพากษาในอิสลาม ขณะที่หลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่งเพียงพอต่อการพิพากษา ท่านศาสดาจึงพิพากษาให้พวกเขาเป็นฝ่ายถูก แต่หลังจากนั้นความจริงได้เปิดเผยออกมา โองการจึงมีคำสั่งให้ท่านศาสดาทำการลุแก่โทษ ซึ่งมิได้หมายความว่าท่านกระทำความผิด แต่เป็นเพราะว่าชนกลุ่มนั้นได้สร้างสถานการ ทำลายสิทธิของมุสลิม ดังนั้น การลุแก่โทษจึงกระทำเพื่อกฎเกณฑ์ที่แท้จริง มิใช่กฎภายนอก

 

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ฉันเป็นมนุษย์เยี่ยงพวกท่าน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และบางคนในหมู่พวกเจ้าเมื่ออธิบายเหตุผล บางคนเหนือกว่าอีกบางคน และฉันมีหน้าที่ตัดสินไปตามเหตุผลและหลักฐานที่นำมายืนยัน ขณะเดียวกันพึงรู้ไว้ด้วยว่า การพิพากษาของฉันวางอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำมายืนยัน ฉันมิได้เปลี่ยนแปลงกฎที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ ถ้าคำตัดสินของฉันเป็นประโยชน์กับอิกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากฉันตัดสินไปตามหลักฐาน ด้วยเหตุนี้ เป็นที่เข้าใจแล้วว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามหลักฐานภายนอก และตัดสินไปตามหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำมายืนยัน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม