เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการที่ 110,111,112 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการที่ 110,111,112 ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ 


หลักการสำคัญสามประการ
وَ مَن يَعْمَلْ سوءاً أَوْ يَظلِمْ نَفْسهُ ثُمَّ يَستَغْفِرِ اللَّهَ يَجِدِ اللَّهَ غَفُوراً رَّحِيما ً(110) وَ مَن يَكْسِب إِثْماً فَإِنَّمَا يَكْسِبُهُ عَلى نَفْسِهِ وَ كانَ اللَّهُ عَلِيماً حَكِيماً(111) وَ مَن يَكْسِب خَطِيئَةً أَوْ إِثماً ثُمَّ يَرْمِ بِهِ بَرِيئاً فَقَدِ احْتَمَلَ بهْتَناً وَ إِثْماً مُّبِيناً(112)

ความหมาย

๑๑๐. และผู้ใดกระทำการชั่ว หรืออธรรมต่อตัวเอง หลังจากนั้นขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เขาจะพบอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ

๑๑๑. และผู้ใดประกอบบาป แท้จริง เขาได้สั่งสมสิ่งเป็นภัยต่อตัวของเขาเอง และอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณเสมอ

๑๑๒. และผู้ใดกระทำความผิด หรือบาป หลังจากนั้น ใส่ความผู้บริสุทธิ์ แน่นอน เขาได้แบกการใส่ร้าย และบาปอันชัดแจ้ง

คำอธิบาย

อัล-กุรอาน ติดตามประเด็นการทรยศ และการใส่ความผู้อื่นในโองการก่อนหน้านี้ โดยกล่าวสรุปเป็นเงื่อนไข 3 ประการดังนี้

๑. อันดับแรกกล่าวถึงแก่นแท้ของประเด็นดังกล่าว โดยแนะนำว่าหนทางลุแก่โทษเปิดเสมอสำหรับผู้กระทำความผิด ผู้ที่อธรรมต่อตนเองหรืออธรรมบุคคลอื่น หลังจากนั้นสำนึกผิดจริงและขอการอภัยจากพระเจ้า เขาจะพบอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ

บางที่จุดประสงค์ของผู้กระทำความผิดอาจหมายถึง ขโมย ส่วนผู้ที่อธรรมตนเองหมายถึงพยานที่กล่าวยืนยันความเท็จซึ่งพวกเขาได้อธรรมต่อตนเองและไม่มีสิ่งใดย้อนกลับมาหาเขา นอกจากกรรมชั่ว จากประโยคข้างต้นเข้าใจได้ว่า การลุแก่โทษที่แท้จริงอันมีผลต่อมนุษย์คือ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจมนุษย์

๒.กล่าวถึงแก่นแท้ความจริง ดังที่กล่าวไปแล้วในโองการก่อนหน้านี้ว่า ผู้ใดกระทำความผิด แท้จริงเขาได้สั่งสมภัยอันตรายต่อตัวเอง หมายถึงบาปของเขาไม่อาจทำอันตรายพระเจ้าได้ บั้นปลายสุดท้ายของความผิดคือ การสร้างความเสียหายต่อตัวเอง ด้วยเหตุนี้ ความผิดที่ก่อขึ้นแม้ว่าจะไม่มีผู้ใด เห็น แต่มันเกิดผลที่ไม่ดีต่อจิตวิญญาณของตน

สุดท้ายโองการกล่าวว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณเสมอ และทรงลงโทษไปตามผลกรรมของแต่ละคนที่ก่อไว้

๓.โองการนี้กล่าวถึง การให้ความสำคัญต่อความผิดและการใส่ความผู้บริสุทธิ์ แน่นอน เขาได้แบกการใส่ร้าย และบาปอันชัดแจ้ง

การใส่ความคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริสุทธิ์เป็นการกระทำที่อิสลามประณามไว้อย่างรุนแรง ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า ผู้ใดใส่ความชนผู้ศรัทธา หรือกล่าวบางอย่างที่เขามิได้กระทำ แน่นอน ในวันฟื้นคืนชีพ พระเจ้าจะทรงโยนเขาเข้าไปในไฟนรก เพื่อรับผิดชอบสิ่งที่ตนได้กระทำไว้

การใส่ความผู้อื่นเป็นการกระทำที่ไม่ใช่สุภาพบุรุษ อีกด้านหนึ่งเป็นการทำลายระบบความยุติธรรมของสังคม เป็นการผสมผสานความจริงเข้ากับความเท็จ เป็นสาเหตุทำให้คนบริสุทธิ์เดือดร้อน ส่วนผู้กระทำผิดรอดพ้นความผิด ที่สำคัญเป็นการทำลายความเชื่อมั่นของสังคม

ดังนั้น การใส่ความผู้อื่นเป็นมารยาทที่ต่ำทรามทางสังคมและต้องถูกลงโทษเป็นสองเท่าตามกฎหมายอิสลาม เนื่องจากกระทำความผิด และใส่ร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย แต่ถ้าเป็นการใส่ร้ายเกี่ยวกับเรืองเพศสัมพันธ์ เช่น กล่าวหาว่าหญิงคนหนึ่งผิดประเวณี หรือกล่าวหาว่าชายได้แสดงรักร่วมเพศ นอกจากความผิดที่จะถูกลงโทษในโลกหน้าแล้ว บนโลกนี้ยังถูกเฆี่ยนตีต่อหน้าสาธารณชน 80 ที่ การกระทำเช่นนี้เป็นการปกป้องเกียรติยศของบุคคลในสังคม

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม