อับบาส บินอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.)
อับบาส บินอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.)
อับบาส บินอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) (๒๖ -๖๑ ฮ.ศ.) เป็นที่รู้จักในนามว่า อะบุลฟัฎล์ และได้รับสมญานามว่า กอมัร บะนีฮาชิม (จันทราของตระกูลฮาชิม) บุตรชายของอิมามอะลี (อ.) และเป็นบุตรคนแรกของท่านหญิงอุมมุลบะนีน
บทบาทที่สำคัญของอับบาส คือ เขาเข้าร่วมในเหตุการณ์กัรบะลาอ์และถูกทำชะฮาดัตในวันอาชูรอ
ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของเขา ก่อนเดือนมุฮัรรอม ปีฮิจเราะฮ์ที่ ๖๑ นอกจากมีบางรายงานกล่าวว่า อับบาสเคยเข้าร่วมอยู่ในสงครามศิฟฟีนเท่านั้น
อับบาส เป็นผู้บัญชาการและผู้ถือธงชัยของกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.) ในเหตุการณ์กัรบะลาอ์ และเขาอาสาที่จะนำน้ำจากแม่น้ำยูเฟรติส มาให้กับบรรดาสตรีและเด็กๆในกองคาราวานของอิมามฮุเซน (อ.)
อับบาส พร้อมทั้งเหล่าน้องชายของเขา ได้ปฏิเสธจดหมายคุ้มครองความปลอดภัยทั้งสองฉบับ ซึ่งถูกส่งโดยอุบัยดิลลาฮ์ บิน ซิยาด มายังพวกเขา และอับบาสได้สู้รบในกองทัพของอิมามฮุเซน (อ.) จนเขานั้นถูกทำชะฮาดัต
ตามรายงานจากหนังสือมักตัก เขียนว่า อับบาสถูกตัดมือทั้งสองข้างและถูกตีที่ศีรษะด้วยท่อนเหล็ก จนกระทั่งเขาเป็นชะฮีด และบางรายงานกล่าวว่า อิมามฮุเซน (อ.) ได้ร้องไห้ให้กับอับบาส เมื่อยามที่อับบาสได้ลาจากโลกนี้ไป
บางแหล่งข้อมูลรายงานว่า อับบาส เป็นผู้ที่มีร่างกายกำยำและมีใบหน้าที่งดงาม
บรรดาอิมามของชีอะฮ์ ได้รายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับฐานภาพอันสูงส่งของท่านอับบาสในสรวงสวรรค์ และได้มีปาฏิหาริย์อย่างมากมายจากเขา สำหรับการขจัดอุปสรรคและความต้องการต่างๆของประชาชน แม้แต่ไม่ใช่ชาวชีอะฮ์ และไม่ใช่มุสลิมก็ตาม
บรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า ท่านอับบาส มีสถานภาพทางจิตวิญญาณที่สูงส่ง และเขาถือเรียกว่า บาบุลฮะวาอิจญ์ และได้มีการขอตะวัซซุลไปยังเขาอีกด้วย ฮะรัมของท่านอับบาส อยู่ใกล้ฮะรัมของอิมามฮุเซน (อ.) และเป็นหนึ่งในสถานที่ซิยาเราะฮ์ของชีอะฮ์
นอกจากนี้ บรรดาชีอะฮ์ ยังเรียกเขา ผู้ให้น้ำแห่งกัรบะลาอ์ (ซากีย์) และวันตาซูอา หมายถึง วันที่เก้า เดือนมุฮัรรอม ถือเป็นวันแห่งการไว้อาลัยให้กับท่านอับบาส และในวันนี้ ที่ประเทศอิหร่าน ได้มีการประกาศเป็นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ในประเทศอิหร่าน ยังได้ตั้งชื่อวันแห่งการถือกำเนิดของท่านอับบาส ว่า เป็นวันแห่งทหารผ่านศึก และได้มีการสร้างสถานที่ต่างๆมากมาย เช่น สถานที่ให้บริการน้ำดื่ม (ซะกอคอเนห์) อับบาซีเยห์ ซะกอเนฟอร เป็นต้น
การขาดแคลนแหล่งข้อมูลของการวิจัยที่เกี่ยวกับอับบาส บินอะลี
แผนภูมิภาพ บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของอับบาส บินอะลี [๑]
นักวิจัยบางคน ระบุว่า ไม่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มากนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของอับบาส บิน อะลี ก่อนเหตุการณ์กัรบะลา ดังนั้น จึงมีความแตกต่างที่มากมายเกี่ยวกับการถือกำเนิดและการดำเนินชีวิตของเขา [๒] ปีเตอร์ เชลโกสกี ผู้เชี่ยวชาญด้านอิหร่าน ชาวสหรัฐฯ เชื่อว่า การดำเนินชีวิตของอับบาส บินอะลี (อ.) เป็นตำนานในประวัติศาสตร์ (๓) หนังสือที่เขียนโดยอิสระเกี่ยวกับอับบาส บิน อะลี ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศตวรรษที่ ๑๔ และ ๑๕ ของปฏิทินจันทรคติอิสลาม เช่น อับดุลวะฮีด มูซอฟฟัร (เสียชีวิต ๑๓๑๐ ฮ.ศ.) ผู้เขียนหนังสือ อัลเมาซูอะฮ์ บัฏลุลอัลเกาะมีย์ ทั้งสามเล่ม มุฮัมมัด อิบรอฮีม กัลบาซี นะญะฟีย์ (เสียชีวิต ๑๓๖๒ ฮ.ศ.) ผู้เขียนหนังสือ อัล-อะบาซียะฮ์ มุฮัมมัดอะลี อุรดูบาดีย์ (เสียชีวิต ๑๓๖๒ ฮ.ศ.) ผู้เขียนหนังสือ ฮะยาตุอะบิลฟัฎล์ อัลอับบาส (๔) มุซะวีย์ มุก็อรรอม ผู้เขียนหนังสือ เกาะมัร บะนีฮาชิม อัลอับบาส (เสียชีวิต ๑๓๙๑ ฮ.ศ.) และรอบบานีย์ คอลคอลี ผู้เขียนหนังสือ เชฮ์เร เดรัคชอน กะมัร บะนีฮาชิม (เสียชีวิต ๑๓๘๙ ปฏิทินอิหร่าน )
ชื่อและวงศ์ตระกูล
อับบาส บิน อะลี บิน อะบีฏอลิบ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฉายานามว่า อะบุลฟัฎล์ เป็นบุตรคนที่ห้าของอิมามอะลี (อ.) และเป็นผลจากการแต่งงานของท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ ฮิซาม ที่รู้จักกันในชื่อ อุมมุลบะนีน อับบาสเป็นบุตรคนแรกของท่านหญิงอุมมุลบะนีน [๕]
มารดา
มารดาของอับบาส ได้รับการแนะนำให้อิมามอะลี (อ.) โดยท่านอะกีล ผู้เชี่ยวชาญด้านวงศ์ตระกูล อิมามอะลี (อ.) ได้ขอร้องให้ท่านอะกีลหาคู่ครองสำหรับเขาที่สามารถให้กำเนิดบุตรชาย ผู้กล้าหาญและมีความแข็งแกร่ง [๖] มีรายงานว่า คืนวันอาชูรอ ซุฮัยร์ บิน ก็อยน์ หลังจากทราบเกี่ยวกับสัญญาความปลอดภัยของชิมร์ ได้กล่าวกับอับบาส (อ.) ว่า : โอ้บุตรของอะมีรุลมุอ์มินีน เมื่อบิดาของท่านต้องการแต่งงาน ท่านได้บอกกับอาของท่าน คือ อะกีลให้หาสตรีจากตระกูลนักรบผู้กล้าหาญ เพื่อให้กำเนิดบุตรชาย ผู้กล้าหาญและมีความแข็งแกร่ง ที่จะได้เป็นผู้สนับสนุนฮุเซน (อ.) ในกัรบะลาอ์ [๗] อัรดูบาดี ระบุว่า เรื่องราวการสนทนาระหว่างซุฮัยร์กับอับบาส ได้พบได้เฉพาะในหนังสือ อัสรารุชชะฮาดะฮ์ เท่านั้น [๘]
ฉายานาม
อะบุลฟัฎล์ : เป็นฉายานามที่ถูกรู้จักมากที่สุดของอับบาส [๙] บางแหล่งข้อมูล รายงานว่า ในตระกูลบะนีฮาชิม ทุกคนที่ชื่ออับบาส จะถูกเรียกว่า อะบุลฟัฎล์ ดังนั้นแม้ในวัยเด็ก อับบาส (อ.) ก็ถูกเรียกว่า อะบุลฟัฎล์ [๑๐] ซัยยิด อับดุรร็อซซาก มูซาวี มุก็อรร็อม อ้างอิงจากหนังสือ อัลญะรีดะฮ์ ฟี อุศูล อันซาบิลอะละวียีน รายงานว่า อับบาส (อ.) มีบุตรชายชื่อ ฟัฎล์ ดังนั้น เขาจึงถูกเรียกว่า อะบุลฟัฎล์ [๑๑]
อะบุลกอซิม : เนื่องจากอับบาส (อ.) มีบุตรชายชื่อ กอซิม เขาจึงถูกเรียกว่า อะบุลกอซิม ด้วย ฉายานามนี้ยังปรากฏในบทซิยาเราะฮ์อัรบะอีน อีกด้วย [๑๒]
อะบุลกิรบะฮ์ : บางคนเชื่อว่า ฉายานามนี้ถูกตั้งให้เขา เนื่องจากในเหตุการณ์กัรบะลาอ์ เขาได้แบกถุงน้ำหลายครั้งไปยังกระโจม ฉายานามนี้ถูกกล่าวถึงในหลายแหล่งข้อมูล [๑๓] กิรบะฮ์ ให้ความหมายว่า หมายถึง ถุงน้ำ [๑๔]
อบุลฟัรญะฮ์ : ฉายานามนี้ตั้งขึ้นเนื่องจากอับบาส (อ.) ช่วยบรรเทาความทุกข์และสร้างความโล่งใจให้กับผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากเขา [๑๕] ฟัรญะฮ์ หมายถึง การบรรเทาทุกข์และการขจัดความเศร้าโศก [๑๖] สมญานามนี้ ถือเป็นสมญานามในรูปแบบของฉายานาม เนื่องจากเขาช่วยบรรเทาทุกข์และสร้างความโล่งใจในยามยากลำบากให้กับผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากเขา [ต้องการแหล่งอ้างอิง]
สมญานาม
สำหรับอับบาส (อ.) มีสมญานามหลายประการ ซึ่งบางสมญานาม เป็นสมญานามดั้งเดิม และบางสมญานาม เป็นสมญานามที่ผู้คนตั้งให้ตามคุณลักษณะและความประเสริฐของเขา [๑๗] สมญานามบางส่วนของเขา มีดังนี้ :
เกาะมัร บะนีฮาชิม (จันทราแห่งวงศ์วานฮาชิม) : [๑๘] กล่าวกันว่า อับบาสได้ถูกเรียกว่า จันทราแห่งวงศ์วานฮาชิม เนื่องจากใบหน้าที่สวยงามของเขา [๑๙]
บาบุลฮาวาอิจญ์ (ประตูแห่งความต้องการ) : [๒๐] ตามคำกล่าวของอัล-บัฆดาดี สมญานามนี้เป็นที่รู้จักกันดีในบรรดาชีอะฮ์ โดยเฉพาะบรรดาชีอะฮ์ในอิรัก [๒๑] ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า หากขอความช่วยเหลือจากอับบาส พระเจ้าจะตอบสนองความต้องการของพวกเขา [๒๒]
ซักกอ (ผู้ให้น้ำ) : [๒๓] บางคนเชื่อว่า สมาญานามนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการด้านวงศ์ตระกูล อับบาส (อ.) ได้แบกน้ำสามครั้งในกัรบะลาอ์ เพื่อนำไปให้ครอบครัวของเขา [๒๔] สมญานามนี้ถูกกล่าวถึงในบทกวีราญัซ (บทกวีในสงคราม) ของอับบาส (อ.) เช่น ฉันคืออับบาส ผู้ที่นำน้ำมาให้ในยามเช้า [๒๕]
อัชชะฮีด (มรณะสักขี) : [๒๖] ผู้ถือธงชัย [๒๗] บาบุลฮุเซน (ประตูแห่งฮุเซน) : บางคนอ้างอิงจากคำพูดของซัยยิดอะลี กอฎีย์ เฏาะบาเฏาะบาอีย์ นักปราชญ์ชีอะฮ์ ที่กล่าวว่า อะบุลฟัฎล์ อัล-อับบาส (อ.) คือ กะอ์บะฮ์แห่งบรรดาผู้ใกล้ชิดพระเจ้า จึงตั้งสมญานามนี้ให้กับอับบาส (อ.) (๒๘)