เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ เป็นมะอ์ศูมจริงหรือไม่?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ เป็นมะอ์ศูมจริงหรือไม่?

 

นามของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ ฟาติมะฮ์ จะเห็นได้ว่าในบรรดาตำรับตำราทางประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.)[1]

แต่ทว่าท่านเป็นที่รู้จักในสร้อยนามนี้ที่เรียกกันว่า มะอ์ศูมะฮ์ มาหลายร้อยปีแล้ว[2]

 และสร้อยนามนี้ก็กลายเป็นชื่อของท่านไปแล้วสำหรับชาวอิหร่านจากอดีต จนถึงปัจจุบัน

 

ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของเทววิทยาอิสลาม(วิชาการด้านหลักศรัทธา) ที่ได้ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์[3]

แต่ทว่าท่านนั้นมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง จนกระทั่งได้มีการให้สัญญากับผู้ที่มาซิยาเราะฮ์ (เยี่ยมเยียน)ท่านว่าจะได้เข้าไปในสรวงสวรรค์

 

อนึ่งประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ลึกซึ้ง เมื่อคำนึงถึงบรรดาฮะดีษที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว[4]

 ถือได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ในระดับสูง แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ สิ่งนี้ถือว่าเป็นไปได้สำหรับสตรีผู้สูงส่งท่านนี้ เนื่องจากอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ในระดับนี้ ที่หมายถึงการที่ปราศจากความผิดบาปนั้น เราก็มักจะเห็นได้จากชีวประวัติของเหล่าบรรดาผู้รู้และนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงทั่วไป

 

 

อ้างอิง

[1] เชคเศาะดู้ก, อุยูนุ อัคบาร อัรริฏอ อะลัยฮิสสลาม, เล่ม 2 หน้า 267, สำนักพิมพ์ญะฮอน, พิมพ์ครั้งที่ 1, ฮ.ศ.1378

 

[2] อ่านเพิ่มเติมที่ มัจลิซีย์, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 106, หน้า 168

 

[3] มะอ์ศูม คือ ผู้ที่ปราศจากความสกปรกโสมมหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องและมิบังควร ซึ่งเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และแม้ว่าคุณสมบัตินี้ไม่ได้มาพร้อมกับการบังคับแต่อย่างใด แต่ทว่าพวกท่านมีความสามารถที่จะกระทำในสิ่งเหล่านี้ได้ อีกทั้งพวกท่านจะปราศจากความหลงผิดและการกระทำในสิ่งที่ผิดบาปอีกด้วย ท่านอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า  มะอ์ศูมคือผู้ที่ถูกปกป้องจากความผิดบาปทั้งปวงจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับสิ่งนี้ว่า “บุคคลใดก็ตามที่ได้เข้าสู่ความปกป้องของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แล้วนั้น แน่นอนเขาได้ถูกชี้นำในหนทางที่เที่ยงตรง

, เชคศอดูก, มะอานี อัลอัคบาร, หน้า 132, สำนักพิมพ์ญาเมเอฮ์ มูดัรเรซีน กุม, 1361 ปีอิหร่าน, หยิบยกมากจากหมวดหมู่ความหมายของอิศมะฮ์และความเป็นไปได้ของการมีอิศมะฮ์ในบุคคลต่าง ๆ, เลขที่ 249

 

[4] อามิลีย์, เชคฮุร, วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 14, หน้า 576, ฮะดีษที่ 94ธ สำนักงานอาลุลบัยต์ อะลัยฮิมุสสลาม, กุม, 1409 ฮ.ศ.

 

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อิสลามเควสท์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม