เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อรรถาธิบายฮาดิษ ฟาฏิมะฮ์คือเลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน ตอนที่ 1

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อรรถาธิบายฮาดิษ ฟาฏิมะฮ์คือเลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน ตอนที่ 1

 

ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) กล่าวถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ)ว่า

 

إنَّ فاطِمَةَ بَضعَةٌ مِنّي، مَن آذاها فَقَد آذاني، ومَن غاظَها فَقَد غاظَني، ومَن سَرَّها فَقَد سَرَّني‏

“แท้จริงฟาฏิมะฮ์คือ เลือดเนื้อเชื้อไขที่มาจากฉัน ผู้ใดรังแกนาง เท่ากับรังแกฉัน และผู้ใดทำให้นางโกรธ เท่ากับทำให้ฉันโกรธ และผู้ใดทำให้นางปิติยินดี เท่ากับทำให้ฉันปิติยินดี”

 

สถานะสายรายงาน

เมื่อทำการพิจารณาฮาดิษบทนี้ ในตำราฮาดิษของชีอะฮ์ จะพบว่า สายรายงานของฮาดิษนี้ จัดอยู่ในระดับที่ศอฮิฮ์ และนอกจากนั้น ยังมีรอวีย์จากหลายสายรายงานฮาดิษบทนี้อีกด้วยเช่นกัน  ดังนั้นฮาดิษนี้ จึงจัดในสถานะ ฮาดิษ “มุตะวาติร” จึงไม่จำเป็นต้อง วิเคราะห์ซะนัด สายรายงานแต่อย่างใด

 

 

สาเหตุการกล่าววัจนะฮาดิษ

 

ท่านศาสดามูฮัมมัด (ศ) ได้กล่าววัจนะนี้ ไว้ในหลายวาระ และหลายเหตุการณ์ด้วยกัน

 

1- รายงานจากมุญาฮิด รายงานจาก รอซูลุลลอฮ์ ในวันหนึ่ง มีรายงานว่า ในวันนั้น ท่านศาสดา (ศ) ต้องการนำเสนอสถานะของท่านหญิงซะฮรอ (ซ) ซึ่งท่านนบี(ศ)ได้ออกจากบ้าน พร้อมกับจับมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ)ไปพร้อมกับท่าน และได้กล่าวต่อหน้าประชาชนว่า

 

من عرف هذه فقد عرفها، ومن لم يعرفها هي فاطمة بنت محمد، وهي بضعة مني، وهي قلبي الذي بين جنبي

 

“ผู้ใดก็ตามที่รู้จักต่อสตรีคนนี้อย่างแท้จริง แน่แท้เขามีมะรีฟัตต่อนาง และหากใครไม่รู้จักนาง จงรู้เถิดว่า นางคือ ฟาฏิมะฮ์ บินติ มูฮัมมัด และนางคือ เลือดเนื้อเชือไขของฉัน และนางคือ หัวใจที่อยู่ระหว่างร่างกายของฉัน”

อ้างอิง ­: الفصول المهمة في معرفة الأئمة «عليهم السلام» ج‏1، ص:664

                     

2- อีกเหตุการณ์หนึ่ง ครั้งหนึ่งท่านรอซูลุลลอฮ์ (ศ) ได้อยู่ร่วมกับบรรดาศอฮาบะฮ์ ซึ่งกำลังสนทนากัน โดยและท่านนบี(ศ)ได้ตั้งคำถามกันว่า สตรีจะสามารถใกล้ชิดกับอัลลอฮ์ ได้มากที่สุด เมื่ออยู่ในสถานะใด ? บรรดาศอฮาบะฮ์ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ อมีรุลมุอฺมีนีน (อ) จึงกลับบ้าน และนำคำถามนี้ ตั้งคำถามแก่ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ ท่านหญิงจึงตอบว่า “สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสตรีคือ การที่นางไม่เห็นบุรุษที่เป็นนอมะฮรอม และ การที่ไม่มีบุรุษที่นอมะฮรอมเห็นนาง” เมื่อ อาลี (อ) ได้นำคำตอบไปเสนอให้ท่านรอซูล(ศ) ท่านจึงได้กล่าวประโยคว่า ฟาฏิมะฮ์บิฎอาตุนมีนนีย์

 

3- ฝ่ายศัตรูของอาลี(อ) ได้สร้างข่าวลือ ว่า ท่านอิมามได้สู่ขอลูกสาวของอบูญะฮัล ข่าวลือดังกล่าวไปถึง ท่านหญิง และในท้ายที่สุด ท่านศาสดา (ศ) ได้รับทราบข่าวนี้ จึงขึ้นมิมบัร และโกรธเคืองต่ออาลี และกล่าวประโยคนี้ (ซึ่งฮาดิษนี้เป็นฮาดิษฎออีฟ สามารถศึกษาได้จาก บทความนี้ บทวิพากษ์ฮาดิษ อิมามอาลี (อ) ขอลูกสาวอบูญะฮัล)

 

4- วัจนะนี้เกิดขึ้นในวันที่ชายตาบอด ได้ขออนุญาต เข้าไปยังบ้านของท่านหญิงซะฮรอ(ซ) ท่านหญิงได้ปกปิดตนเองอย่างมิดชิด และเมื่อท่านนบี(ศ) ได้เข้ามายังบ้านของท่านหญิง น้ำตาของท่านได้ไหลริน บรรดาศอฮาบะฮ์จึงถามถึงสาเหตุที่ท่านนบี(ศ)ได้ร้องไห้ ในเวลานั้นเอง ท่านนบี(ศ) ท่านนบีจึงได้เอ่ยวัจนะ เกี่ยวกับท่านหญิง(ซ) ว่า

 

أشهد أنك بضعة مني

“ข้าขอปฏิญาณว่า แท้จริงเจ้า คือ เลือดเนื้อของข้า”

อ้างอิง

راوندی کاشانی، فضل الله بن علی، النوادر، محقق و مصحح: صادقی اردستانی، ص 13 – 14، احمد، دار الکتاب، قم، چاپ اول، بی تا؛ کوفی، محمد بن محمد اشعث، الجعفریات (الأشعثیات)، ص 95، مکتبة نینوی الحدیثة، تهران، چاپ اول، بی‌تا.

 

5 - รายงานจากอิบนิอับบาส ว่า วันหนึ่ง อมีรุลมอฺมีนีน ,ฟาฏิมะฮ์ ,ฮะซัน,ฮูเซน อลัยฮิมัสสลาม ได้ปรากฎตัวต่อหน้าบรรดาศอฮาบะฮ์ และเมื่อแต่ละคนจากอะฮลุลบัยต์ ได้เดินเข้ามา ท่านนบี(ศ)ก็ได้เริ่มร้องไห้ บรรดาศอฮาบะฮ์ จึงถามถึงสาเหตุ จากนั้นท่านนบี (ศ) ก็ได้บอกเล่าถึงมุษีบัต ต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา และท่านก็ไดกล่าวเกี่ยวกับท่านหญิงว่า

 

  وَأَمَّا ابْنَتِي فَاطِمَةُ فَإِنَّهَا سَيِّدَةُ نِسَاءِ الْعَالَمِينَ مِنَ الْأَوَّلِينَ وَالْآخِرِينَ وَهِيَ بَضْعَةٌ مِنِّي

“ส่วนลูกสาวของฉัน ฟาฏิมะฮ์ แท้จริงแล้ว นางคือ นายหญิงของสากลโลก ตั้งแต่คนแรก จนถึงคนสุดท้าย และนางคือ เลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน

 

อ้างอิง

الأمالي للصدوق: 175/ 178.

 

6- ริวายัตของอิบนิอับบาส หลังจากท่านนบีได้เดินทางกลับจาก ฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่าน ท่าน(ศ)ได้สั่งเสียบรรดาศอฮาบะฮ์ เกี่ยวกับอะฮลุลบัยต์(อ) ของท่าน และท่านได้กล่าวเกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ(ซ) ว่า

 

. فَإِنَّ فاطِمَةَ بَضعَةٌ مِنّي، ووَلَدَيها عَضُدايَ، وأنَا وبَعلُها كَالضَّوءِ، اللَّهُمَّ ارحَم مَن رَحِمَهُم، ولا تَغفِر لِمَن ظَلَمَهُم‏

“แท้จริงแล้ว ฟาฏิมะฮ์ คือ เลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน และบุตรทั้งสองของนาง คือหัวเข่าของฉัน และฉัน และ สามีของนาง เปรียบดั่งแสงสว่าง ขออัลลอฮ ทรงเมตตา ต่อผู้ที่เมตตาต่อพวกเขา และขอพระองค์อย่าได้ทรงอภัยต่อผู้ที่กดขี่พวกเขา”

 

อ้างอิง

 بحار الأنوار: ج 23 ص 143 ح 97 نقلًا عن شاذان بن جبرئيل في كتاب« الروضة في فضائل أمير المؤمنين عليه السلام» و الفضائل.

 

7- ริวายัต รายงานจาก อบูซัร  ในช่วงที่ท่านศาสดา(ศ) ใกล้สิ้นใจ ท่านได้สั่งให้เรียกท่านหญิง(ซ)มาพบ และท่านนบี(ศ) ได้แจ้งข่าวว่า ท่านหญิงจะเป็น บุคคลแรกจากอะฮลุลบัยต์ (อ) ที่จะตามท่านไปหลังจากนี้ และท่านยังได้กล่าวถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับท่านหญิง(ซล) จากนั้นท่านจึงได้หันไปหาอบูซัร และได้กล่าวว่า

 

يَا أَبَا ذَرٍّ إِنَّهَا بَضْعَةٌ مِنِّي فَمَنْ آذَاهَا فَقَدْ آذَانِي

“โอ้ อบาซัร แท้จริงนางคือ เลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่รังแกนาง เท่ากับเขาได้รังแกฉัน”

 

อ้างอิง

خزاز رازی، علی بن محمد، کفایة الاثر فی النصّ علی الأئمة الإثنی عشر، محقق و مصحح: حسینی کوهکمری، عبد اللطیف،‏ ص 36 – 37، بیدار، قم، 1401ق

 

8- ในตำราฮาดิษของอะฮลิซุนนะฮ์ อธิบายถึงสาเหตุการกล่าววัจนะบทนี้ อบูลาบาบะฮ์ ได้เอาตัวเข้าไปขวางทางเข้ามัสยิด และเขาได้สาบานว่า ถ้านบีไม่มาเปิดทาง เขาจะอยู่อย่างนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซล) จึงเดินมาเพื่อให้เขาเปิดทาง ทว่า เขาไม่ยอม ท่านรอซูลได้รับแจ้งข่าว จึงปรากฎตัวและกล่าวว่า

 

انما فاطمة بضعة مني

แท้จริง ฟาฏิมะฮ์ คือ เลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน

 

อ้างอิง

الصالحي الشامي، محمد بن يوسف (متوفاى942هـ)، سبل الهدي والرشاد في سيرة خير العباد، ج10، ص328، تحقيق: عادل أحمد عبد الموجود وعلي محمد معوض، ناشر: دار الكتب العلمية – بيروت، الطبعة: الأولى، 1414هـ.

المقريزي، تقي الدين أحمد بن علي بن عبد القادر بن محمد (متوفاى845 هـ)،إمتاع الأسماع بما للنبي صلى الله عليه وسلم من الأحوال والأموال والحفدة والمتاع، ج10، ص274، تحقيق وتعليق محمد عبد الحميد النميسي، ناشر: منشورات محمد علي بيضون دار الكتب العلمية ـ بيروت، الطبعة الأولى، 1420 ه‍ ـ 1999م .

 

الحلبي، علي بن برهان الدين (متوفاى1044هـ)، السيرة الحلبية في سيرة الأمين المأمون، ج2، ص674، ناشر: دار المعرفة – بيروت – 1400

 

الدمشقي الباعوني الشافعي، شمس الدين أبي البركات محمد بن أحمد، (متوفاي871هـ)، جواهر المطالب في مناقب الإمام علي بن أبي طالب عليه السلام، ج1، ص152، تحقيق: الشيخ محمد باقر المحمودي، ناش : مجمع إحياء الثقافة الإسلامية – قم – ايران،‌ چاپ: الأولى1415

ขอขอบคุณเว็บไซต์ thaitalabeh

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม