เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ) ตอนที่ 21

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียนอูศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา)

เตาฮีด (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ) ตอนที่ 21

 

ความหมายของฮะยาต ชีวิตหรือการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า

หลังจากที่เรารู้จักพระผู้เป็นเจ้าในนาม “วาญิบุลวูญูด“واجب الوجود” มาแล้วก็ เข้าสู่การทำความเข้าใจ “ศีฟาต “صفات” คุณลักษณะต่างๆของพระผู้เป็นเจ้า

- วิธีทางต่างๆที่สามารทำให้มนุษย์รู้จักคุณลักษณะต่างของพระผู้เป็นเจ้ามีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน

1. สติปัญญาโดยตรง เหมือนกับที่ได้พิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว ใช้กฏเกณฑ์ทางปรัชญาก็สามารถพิสูจน์คุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าได้ในเบื้องต้น หลังจากที่ได้พิสูจน์พระผู้เป็นเจ้าในนามของวาญิบุลวูญูดด้วยวิธีทางปรัชญาหรือการใช้สติปัญญาโดยตรง เช่นเดียวกันด้วยกับการใช้สติปัญญาพินิจในวาญิบุลวูญูดทำให้พบคุณลักษณะต่างของพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจากศีฟัตซูบูตียะห์(ศีฟัตที่ต้องมี)หรือศีฟัตซัลบียะฮ์(ศีฟัตที่มีไม่ได้)ต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้วในบททฤษฎีอิลลัตและมะลูล

2 .การพินิจพิจารณาและการใช้สติปัญญาเบื้องต้นไปยังโลก ไปยังระบบของโลก ทำให้สามารถพบคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้เช่นกัน ตัวอย่างด้วยการพินิจไปยังระบบระเบียบของโลก และประโยชน์แห่งเป้าหมายในการสร้าง และความสมดุลของสรรพสิ่ง ทำให้พบว่า วาญิบุลวูญูดยังเป็นผู้ทรงรอบรู้ “อาลีม” และเป็นผู้ทรงวิทยปัญญา (อัลฮากีม(

3 จากอัลกุรอานและฮาดีษรายงานต่างๆ วิธีนี้จะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ยอมรับความเป็นศาสดาของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ)ที่ถูกแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า และได้ยอมรับต่ออัลกุรอานแล้วจึงสามารถรู้จักคุณลักษณะต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าได้ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ววิชาการความรู้จากอัลกุรอานและฮาดีษมีความกว้างขว้างและลึกซึ้งโดยเฉพาะการรู้จักคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งสติปัญญาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรู้จักได้อย่างสมบูรณ์

4 การประจักษ์แจ้งด้วยจิตวิญญาณ ด้วยกับการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์ การขัดเกลาในขั้นตอนต่างๆ การมีตักวาและอีหม่านจนไปถึงตำแหน่งหนึ่งที่มนุษย์สามารถเห็นคุณลักษณะแห่งความสวยงามและความสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าด้วยกับดวงตาแห่งจิตวิญญาณ

- คุณลักษณะต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่หลายหมวดหมู่ในหมวดหมู่นี้ได้แบ่งคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าออกเป็นสองประเภทคือ“ศีฟาตซาตียะฮ์” และ”ศีฟาต ฟิอ์ลียะฮ์

- “ศีฟาตซาตียะฮ์“صفات ذاتیة” คือคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม อยู่คู่กับ”ซาต”ตัวตนของพระองค์มาแต่เดิม อย่างเช่น

ฮะยาต“حيات” ผู้ทรงดำรงอยู่มีมาแต่เดิมและดำรงอยู่ตลอดไป

อิลม์“علم” ผู้ทรงรอบรู้ มีความรู้มีมาแต่เดิม

กุดเราะฮ์ “قدرة” อำนาจ พลัง เดชานุภาพ

- “ศีฟาต ฟิอ์ลียะฮ์“صفات فعلية” คือ ศีฟัตที่เกิดจากการกระทำหรือกริยาของพระองค์ คุณลักษณะศีฟัตเหล่านี้ก็มีมาแต่เดิมเช่นเดียวกันแต่ถูกสำแดงให้เห็นเมื่อเกิดการกระทำของพระองค์ เป็นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับสรรพสิ่ง เช่นความสัมพันธ์ในการทำให้สรรพสิ่งเกิดขึ้นซึ่งก่อนหน้านั้นสรรพสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่ก่อน จากตรงนี้ทำให้มนุษย์รู้จักพระผู้เป็นเจ้าในนามของ “คอลิก“خالق” พระผู้สร้าง เป็นคุณลักษณะเกิดมาจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นภายหลังที่พระองค์มีการกระทำของพระองค์ อย่างเช่น

คอลิกียะฮ์”  خالقية” พระผู้ทรงสร้าง พระองค์ถูกรู้จักในนามพระผู้สร้างภายหลังที่พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งและทรงสร้างมนุษย์

รูบูบียะฮ์ربوبية " " ผู้ทรงบริหาร บริบาล อภิบาล และในการบริหารก็มีคุณลักษณะที่แตกย่อยไปอีก เช่น

อัรรอซิก” “الرازقผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ

อัลมุฮฺยี” “المحييผู้ทรงให้ชีวิต

อัลมุมีต” “المميتผู้ทรงให้ความตาย

อัลฮาดีالهادي ผู้ทรงชี้นำทาง

อัลมาลิก“ “المالكผู้ทรงเอกสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของ หลังจากที่พระองค์สร้างสรรพสิ่งขึ้นมา พระองค์ก็เป็นเจ้าของสิ่งนั้น และคุณลักษณะอื่นๆอีกมากมาย

ใน”ศีฟาตซาตียะฮ์”(คุณลักษณะที่อยู่คู่กับอาตมันของพระองค์) มีศีฟาตหลักๆอยู่สามศีฟาตคือ “ฮายาต” (ผู้ทรงดำรงอยู่) “อิลมฺ”(ทรงรอบรู้) และ “กุดเราะฮ์” (ผู้ทรงอำนาจเดชานุภาพ(

- “อัลฮายาต” ผู้ทรงดำรงอยู่ ศีฟัตที่แตกย่อยออกมาคือ “อัลมุฮฺยี” ผู้ทรงให้ชีวิต ผู้ที่จะให้ชีวิตสิ่งอื่นได้นั้นต้องมีชีวิตก่อน “ อัลกอยยูม” ผู้ทรงยืนหยัดอย่างแท้จริง อย่างยาวนานตลอดไป จะเป็น “อัลกอยยูม”(ผู้ทรงดำรงอยู่อย่างตลอดไป)ได้ ก็หมายความว่าต้องมีชีวิตอยู่ด้วย “ ก่อนที่มนุษย์จะรู้จักฮัยยาตของพระผู้เป็นเจ้ามนุษย์ต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่า“ฮัยยาต” (ชีวิต)ก่อนซึ่งใช้ในสองความหมายด้วยกัน

1 “พืช” ใช้กับพืชหมายถึงการเจริญเติบโต สิ่งใดก็แล้วแต่ที่มีการเจริญเติบโตด้วยตัวของมันเอง ตัวอย่างของต้นไม้จากเมล็ดค่อยๆเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ที่สมบรูณ์ แต่บ้านไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่มีสิ่งมีชีวิตเพราะว่าบ้านไม่ได้เจริญเติบโตด้วยตัวของมันเอง บางครั้งอาจจะเจริญอย่างเดียวแต่ไม่โตก็ได้ ตัวอย่างเช่นต้นไม้ที่โตเต็มที่ไม่เติบโตอีกแล้วแต่ยังให้ผลให้ดอกอยู่เสมอเรียกว่าเจริญ

2 “สัตว์” ใช้กับสัตว์หมายถึงการมี “ชูอูร” “شعور” (การรับรู้)และมี “อิรอดะฮ์” “ارادة” (ความประสงค์) ความต้องการ และการมีชีวิตของมนุษย์อยู่ในนิยามอันนี้เช่นกัน นิยามของชีวิตระหว่างมนุษย์กับสัตว์นั้นไม่มีความแตกต่างกันคือ มี”ชูอูร"”และ “อิรอดะฮ์” เหมือนกัน มีการรับรู้และความต้องการเหมือนกัน สัตว์มีการรับรู้และความต้องการ มนุษย์ก็มีการรับรู้และความต้องการ แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์สูงส่งกว่าสัตว์คือ ”ชูอูร” การรับรู้ของมนุษย์ทำให้เกิด “อักลฺ”สติปัญญาที่สูงส่งขึ้นมา เมื่อมนุษย์มีสติปัญญา ความต้องการของเขาก็จะดีงามและประเสริฐไปด้วยเช่นกัน มนุษย์มีความประเสริฐกว่าสัตว์ สัตว์ไม่รู้จักความเสียสละแต่มนุษย์รู้จักความเสียสละ มนุษย์รู้จักความเมตตาแต่สัตว์ไม่มีความรู้สึกไม่แคร์สิ่งใดๆ

ดังนั้นถามว่าจากนิยามอันใดที่สามารถใช้กับ “ฮะยาต” ชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าได้ นิยามที่ใช้กับพืชนั้นไม่สามารใช้ได้ เพราะพระองค์ทรง”กามิล” “كامل” (ทรงสมบูรณ์)อยู่แล้ว ไม่ต้องการการ”ตากามุล” “تكاملการพัฒนาไปสู่ความสมบรูณ์ใดๆอีก การเจริญเติบโตคือการพัฒนาไปสู่ความสมบรูณ์ ส่วนนิยามที่ใช้กับสัตว์และมนุษย์นั้นสามารถใช้กับพระผู้เป็นเจ้าได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายถึงความหมายทั่วไป ไม่ใช่ความหมายที่ใช้กับสัตว์และมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง เพราะ “ชูอูร” และ “อิรอดะฮ์” การรับรู้และความต้องการของสัตว์และมนุษย์มีขอบเขตจำกัดเป็นเรื่องของวัตถุและมีจุดสิ้นสุด สัตว์และมนุษย์มีความต้องการมีความปรารถนาแต่ในความเป็นจริงบางครั้งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้รับตามความปรารถนาของพวกเขา เป็นความต้องการความปรารถนาที่มีขอบเขต ตัวอย่างเช่น ไม่มีมนุษย์คนใดต้องการเจ็บไข้ได้ป่วยแต่ก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีมนุษย์คนใดต้องการความยากจน แต่ยังมีคนจนอยู่

การมีชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้เกิดจาก “รูฮฺ” “روحจิตวิญญาณ และ”บาดัน” “بدنร่างกายรวมกัน ถ้าแยกออกจากกันเมื่อไรชีวิตในโลกนี้ก็จบสิ้นลง เมื่อชีวิตจบ “ชูอูร” และ “อิรอดะฮ์” การรับรู้และความปรารถนาก็จบลงด้วยเช่นเดียวกัน แต่บนนิยามอันนี้ยังมีชีวิตอื่นอีกที่สูงส่ง คือชีวิตที่เรียกว่า”มุญัรรอด” “مجردคือชีวิตที่อยู่เหนือวัตถุ ชีวิตที่นิรันดร์ ชีวิตที่บริสุทธิ์ ก็คือชีวิตของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นชีวิตที่มี “ชูอูร” และ “อิรอดะฮ์” เป็นชีวิตที่มีการรับรู้และความต้องการและความประสงค์ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายถึงความหมายที่ใช้กับสัตว์และมนุษย์ การรับรู้และความปรารถนาของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่มีขอบเขตใดๆมาจำกัด เป็นชีวิตที่ไม่ใช่วัตถุ ตัวอย่างของชีวิตที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ชีวิตของ “มาลาอิกะฮ์” (เทวทูต) และ “รูฮ์” (จิตวิญญาณ) ในความเป็นจริงแล้ว ”รูฮ์” ไม่ใช่ตัวตนของชีวิต “รูฮ์” คือที่ที่ตัวตนของชีวิตอาศัยอยู่ในมัน วันหนึ่ง”รูฮ์” ก็ต้องตาย วันหนึ่งตัวตนของชีวิตจะออกจาก “รูฮ์” เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถรับตัวตนของชีวิตได้โดยตรง ต้องเอาตัวตนของชีวิตใส่ไปใน “รูฮ์” ก่อนแล้วจึงเอา “รูฮ์” ใส่ในร่างกายของมนุษย์ในวันกียามัต “รุฮ์” ก็ต้องตายอีกครั้งหนึ่ง

ชีวิตที่ไม่ใช่วัตถุเรียกว่า “มุญัรรอด” เช่นชีวิตของมาลาอิกะฮ์(เทวฑูต) ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้มาจากการเชื่อโดยจำนนจากคำสอนทางศาสนา(อิลมุลตะอับบุดี) หมายถึงชีวิตต่างๆที่ไม่มีวัตถุ และมีชีวิตที่ไม่ใช่วัตถุอันหนึ่งที่สูงส่งที่สุดซึ่งเป็นชีวิตของ “วาญิบุลวูญูด” หรือพระผู้เป็นเจ้าเพราะได้ทำความเข้าใจไปแล้วว่าวาญิบุลวูญูดเป็นสิ่งอยู่เหนือกฏเกณฑ์ของวัตถุทั้งหมด การมีของมันมีมาแต่เดิม มีด้วยตนเอง มีอยู่ตลอดไป มีโดยไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งใด และชีวิตของมาลาอิกะฮ์” และ”รูฮ์” ซึ่งทั้งมาลาอิกะฮ์และรูฮ์เป็น “มุมกินุลวูญูด” เป็นสิ่งที่ถูกสร้างเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

ชีวิตของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอันเดียวกันกับอาตมัน(ซาต)ของพระองค์ ไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ แต่ชีวิตของมนุษย์และสัตว์เป็นชีวิตที่แยกออกจากตัวตนของมันที่ถูกเพิ่มเข้ามาที่หลังทั้งสองเพิ่งมีชีวิตในตอนที่มันถูกทำให้เกิดขึ้นมาและจะแยกออกจากมันอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงเวลาตาย

 

ขอขอบคุณสถาบันศึกษาศาสนาอัลมะฮ์ดี

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม